ปริญญาตรี หลักสูตรภาษาไทย
ปริญญาตรี หลักสูตรภาษาไทย
เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการพัฒนาความรู้พื้นฐานด้านการจัดการธุรกิจครบทุกด้าน ก่อนที่จะศึกษาลึกซื้งในสาขาวิชาเอกที่สนใจซึ่งสามารถเลือกได้จาก 8 สาขาวิชา หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีเป้าหมายอาชีพที่ชัดเจนและต้องการประสบการณ์ การทำงานก่อนตัดสินใจศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นในอนาคตประกอบด้วย 2 หลักสูตรย่อย คือ
บัญชีบัณฑิต (บช.บ)
ผู้สำเร็จการศึกษาบัญชีบัณฑิตสามารถทำงานในภาครัฐ เอกชนหรืออาชีพอิสระด้านการบัญชี การตรวจสอบบัญชี การตรวจสอบภายใน ภาษีอากร การลงทุน และอื่นๆ นอกจากนี้พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547 กำหนดว่าผู้ประกอบอาชีพด้านการบัญชีต้องสำเร็จการศึกษาบัญชีบัณฑิตเท่านั้นทำให้บัญชีบัณฑิตเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างกว้างขวาง
รายละเอียดหลักสูตร
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ. 2558
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ. 2561
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ. 2566
ประกอบด้วย 1 สาขา
บริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ)
ผู้สำเร็จการศึกษาบริหารธุรกิจบัณฑิตเป็นที่ต้องการขององค์การทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นธุรกิจส่วนตัว ธุรกิจการผลิต การค้าและการบริการทั้งในและระหว่างประเทศรวมถึงบริษัทที่ปรึกษาธุรกิจ สถาบันการเงินและองค์การอิสระต่างๆ เนื่องจากบริหารธุรกิจบัณฑิต นอกจากจะมีความรู้ลึกซึ้งในสาขาวิชาเอกที่สำเร็จการศึกษาแล้วยังได้รับการพัฒนาทักษะด้านการวิเคราะห์วางแผน การแก้ปัญหาและการตัดสินใจอย่างเป็นระบบรวมถึงความเข้าใจความเชื่อมโยงของหน้าที่งานต่างๆทางธุรกิจอีกด้วย
รายละเอียดหลักสูตร
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ. 2558
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ. 2561
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ. 2566
การบัญชี
เรียนรู้แนวคิดเกี่ยวกับการบันทึกและวิเคราะห์รายการค้าทางธุรกิจโดยครอบคลุมแนวคิดและเครื่องมือด้านการบัญชีการเงินและการบัญชีบริหารในลักษณะที่เชื่อมโยงและสะท้อนความสัมพันธ์กับกลยุทธ์ตลอดจนการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ทางธุรกิจโดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะในการแปลความหมายของข้อมูลทางการบัญชีและการเงินเพื่อนำมาใช้ในการวางแผน และการตัดสินใจที่สำคัญ ๆ ทางธุรกิจ
การเงิน
เรียนรู้แนวคิดและพัฒนาทักษะการตัดสินใจทางการเงินเพื่อสร้างมูลค่าแก่กิจการ การลงทุนในโครงการต่างๆ การจัดหาเงินทุน การบริหารสภาพคล่อง การลงทุนในหลักทรัพย์และอนุพันธ์ทางการเงินรวมทั้งการบริหารความเสี่ยงทางการเงินซึ่งเน้นแนวคิดที่สำคัญและจำเป็นต่อองค์กรทุกประเภทในปัจจุบัน
การตลาด
เน้นการผลิตผู้บริหารการตลาดมืออาชีพ ปฏิบัติได้จริง มีความคิดสร้างสรรค์ มีจริยธรรมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม ผู้เรียนจะสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดได้อย่างลึกซึ้งและทันเหตุการณ์ สามารถกำหนดกลยุทธ์การตลาดที่มีประสิทธิภาพเพื่อนำธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จและดำรงอยู่อย่างยั่งยืน
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ศึกษาวิธีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ การบริหาร การจัดการ เทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศประเภทต่างๆ สามารถเลือกใช้ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนงานในด้านต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุดแก่ธุรกิจ
การบริหารองค์การ การประกอบการ และทรัพยากรมนุษย์
เรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารองค์การ การประกอบการ และทรัพยากรมนุษย์ (เน้นการประกอบการ) ประกอบด้วย 2 กลุ่มวิชาหลัก ได้แก่ การเป็นผู้ประกอบการและการบริหาร ซึ่งรู้จักทุกองค์ประกอบขององค์กร เรียนรู้ศาสตร์แห่งการบริหารธุรกิจให้ราบรื่นและยั่งยืน และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ไขทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับ “เรื่องคน” ภายในองค์กร ดึงศักยภาพของบุคคลากรเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ทุกฝ่าย
บริหารการปฏิบัติการ
ศึกษาการออกแบบและวางแผนกระบวนการผลิตสินค้าและบริการเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีปริมาณและคุณภาพตามเป้าหมายภายใต้ระดับต้นทุนและระยะเวลาที่กำหนดโดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการวิเคราะห์เชิงปริมาณสถิติเพื่อการสร้างผลิตภาพสูงสุดในการผลิต
บริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์และการขนส่ง
ศึกษารูปแบบและวิธีการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศซึ่งมีความซับซ้อน ทั้งในด้านการบริหาร การเงิน การค้า การนำเข้า-ส่งออกโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขนส่งระหว่างประเทศในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนการบริหารโลจิสติกส์และโซ่อุปทานที่มีความสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มและศักยภาพในการแข่งขันให้กับธุรกิจ
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ศึกษากระบวนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั้งในและนอกประเทศ การบริหารโครงการ การประเมินมูลค่าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กลยุทธ์การดำเนินงานและปรับตัวของธุรกิจสังหาริมทรัพย์ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
จำใจจำจากแล้ว เกลอขวัญ เคยร่วมการงานกัน ก่อนหน้า เกษียณแล้วพี่หมายมั่น พักผ่อน ชุ่มชื่นภิรมย์หล้า สุขล้ำสำราญ ประพันธ์โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ศรายุทธ เรืองสุวรรณ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรพรรณ ยลระบิล รองคณบดีฝ่ายวิชาการและเครือข่ายพันธมิตร พร้อมด้วย คุณภณิชชา บัณฑุกะอาคม คุณมะโนรัจ