คำถามที่พบบ่อย
คำถามที่พบบ่อย
A : การแจ้งความจำนงของคณะฯ เป็นการสำรวจความต้องการที่แท้จริงของนักศึกษา การที่นักศึกษาได้รับการจัดสรรที่นั่งและไม่ยืนยันทางระบบจดทะเบียนเรียน ส่งผลกระทบด้านลบต่อทั้งการจัดการของภาค/สาขาวิชา และเพื่อนนักศึกษาที่ไม่ได้รับการจัดสรร การที่ระบบการแจ้งความจำนงของคณะฯ ไม่อนุญาตให้นักศึกษาขอวิชาเดิมในเวลาใหม่ หรือวิชาใหม่ในเวลาเดิมได้ เป็นการแสดงว่าคณะฯ จะไม่สำรองที่นั่งให้กับนักศึกษาผู้นั้นอีก และหากนักศึกษาประสงค์จะจดทะเบียนรายวิชา สามารถทำได้โดยการจดทะเบียนเพิ่มรายวิชาผ่านระบบจดทะเบียนเรียน ซึ่งเป็นระบบมาก่อน-ได้ก่อน หากรายวิชานั้นยังมีที่นั่งว่าง
A : การจดทะเบียนแบบไม่วัดผลการศึกษา (Audit) คือ การจดทะเบียนเรียนที่จะปรากฏเกรด AUD ในใบรายงานผลการศึกษา (Transcript) ว่านักศึกษาได้จดทะเบียนศึกษาในรายวิชานั้น แต่ไม่นับหน่วยกิตและคำนวณค่าเฉลี่ยสะสม(GPA) ให้กับนักศึกษา โดยนักศึกษาที่ประสงค์จะจดทะเบียนในลักษณะดังกล่าว จะต้องดำเนินการขออนุญาตอาจารย์ผู้สอน และแจ้งความจำนงจดทะเบียนเรียนกับคณะฯ พร้อมทั้งจดทะเบียนผ่านระบบจดทะเบียนเรียนเหมือนกับรายวิชาอื่นๆ จากนั้น ให้นักศึกษายื่นคำร้องกับคณะฯ เพื่อแจ้งสำนักทะเบียนและประมวลผลทราบ ทั้งนี้การจดทะเบียนในลักษณะนี้นักศึกษาจะต้องผ่านเกณฑ์ที่อาจารย์ผู้สอนราย วิชานั้นกำหนด เช่น จะต้องเข้าเรียนไม่น้อยกว่ากี่ครั้งต่อภาคการศึกษา จะต้องเข้าสอบกลางภาคและปลายภาค เป็นต้น
Seminar “Meet the Editors: Publishing in British Journal of Management (ABS: 4)
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับคณาจารย์ผู้ทรงคุณค่า ที่ได้รับรางวัลในงาน วันเชิดชูเกียรตินักวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2567 ศ.ดร.ศากุน บุญอิต อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารการปฏิบัติการ ได้รับรางวัลในงานวันเชิดชูเกียรตินักวิจัย