ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรพรรณ ยลระบิล ที่ปรึกษาคณบดีฝ่ายการนักศึกษา คณะพาณิชย์ฯ ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ ( MOU ) กับ คุณมงคล เฮงโรจนโสภณ นายกสมาคมเพื่อนชุมชน ภายใต้ “โครงการสมาคมเพื่อนชุมชน – ธรรมศาสตร์โมเดล รุ่นที่ 7/2565 การส่งเสริมพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชน และกลุ่มเศรษฐกิจฐานราก ในพื้นที่มาบตาพุดคอมเพล็กซ์ ตามแนวทางธรรมศาสตร์โมเดล”
โดยมีคุณชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยคุณวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คุณนวลนารถ สายสุทธิวงษ์ ผู้อำนวยการภาค ธนาคารออมสินภาค 15 กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ โรงแรมโกลเด้นซิตี้ จังหวัดระยอง
ความร่วมมือในครั้งมีการพัฒนา ระบบฐานรากด้านเศรษฐกิจของชุมชน เพิ่มมุมมองในการปรับปรุงสินค้า ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าในวงกว้าง และเพิ่มขีดความสามารถ การแข่งขันกับสินค้าอื่นในท้องตลาด นอกจากนี้ความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ในครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกันสร้างวิสาหกิจชุมชนให้มีรากฐานที่เข้มแข็ง และ สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยเน้นหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ในปีนี้มี 9 วิสาหกิจชุมชนเข้าร่วมโครงการ
- วิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมสุขใจ
- วิสาหกิจชุมชนโคเนื้อบาร์มันบ้านแซมไฮซ์
- วิสาหกิจชุมชนมุมดินฟาร์มเกษตร
- วิสาหกิจชุมชนตัดเย็บเครื่องหนังชนันทน์วัธ
- วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์หอมมะหาด
- วิสาหกิจชุมชนประมงเรือเล็กตากวน อ่าวประดู่
- วิสาหกิจชุมชนชากลูกหญ้าพัฒนา
- วิสาหกิจชุมชนสวนเกษตรผสมผสานฐานเรียนรู้สวนคุณย่า
- วิสาหกิจชุมชนวิสาหกิจชุมชนครัวแม่ฉัน By Nana
วิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมสุขใจ เป็นวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตและจัดจำหน่ายเปลญวนเป็นหลัก โดยวิสาหกิจชุมชนนี้เกิดจากการรวมตัวของคนในชุมชนเนินพระ จังหวัดระยอง และเริ่มก่อตั้งมาจากนายสุข พืชพันธุ์ มาเป็นระยะเวลาเกือบ 1 ปี ซึ่งวิสาหกิจชุมชนนี้มีวัตถุประสงค์จัดตั้งมาเพื่อสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกในชุมชน และต้องการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยความคิดริเริ่มในการผลิตเปลญวนของวิสาหกิจชุมชนนี้มาจากคุณลุงสุขนั้นมีความรู้และความสามารถในการถักทอ ผนวกกับ ณ ตอนนั้นทางลุงสุขได้ซื้อเชือกลากเรือจักรีนฤเบศรที่มีความแข็งแรงเหนียวนุ่มจึงมีความคิดที่อยากจะผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นงานฝีมือของคนระยองมาจำหน่ายแก่คนทั่วไป แต่เมื่อมีการแพร่ระบาดของโควิด 19 ส่งผลให้ยอดขายของวิสาหกิจชุมชนนั้นลดลง ดังนั้นเพื่อสร้างยอดขายและสามารถต่อยอดให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ได้นั้น ทางกลุ่มนักศึกษาจึงได้ลงพื้นที่เพื่อรวบรวมข้อมูล และสามารถสรุปปัญหาที่พบ 4 ด้าน ดังนี้
1. ด้านการผลิต วิสาหกิจชุมชนมีสินค้าเพียงชนิดเดียวคือเปลญวน ซึ่งมีอัตราการซื้อซํ้าตํ่าและคนในพื้นที่ก็มีกันแล้ว นอกจากนี้สินค้าที่ผลิตยังไม่มีมาตรฐานเช่น ขนาดไม่เท่ากัน เป็นต้น ทั้งยังอยากพัฒนาสินค้าใหม่แต่ยังไม่ทราบความต้องการของผู้บริโภค
2. ด้านบรรจุภัณฑ์ วิสาหกิจชุมชนไม่ได้มีการสร้างตราสินค้าและการสร้างอัตลักษณ์ให้แบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ทำให้สินค้าไม่เป็นที่จดจำ พ่อค้าคนกลางสามารถนำไปแอบอ้างเป็นแบรนด์ของตนเองได้ และปัญหาด้านบรรจุภัณฑ์ดั้งเดิมของเปลญวนที่วิสาหกิจใช้คือถุงพลาสติกสีใสธรรมดา ซึ่งทำให้ภาพลักษณ์ของสินค้าไม่สวยงามและไม่สามารถตั้งราคาสูงได้
3. ด้านการตลาด วิสาหกิจชุมชนมีช่องทางการจัดจำหน่ายเดิมผ่านตามงานชุมชนต่าง ๆ แต่ก็ประสบกับปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด 19 อีกทั้งทางช่องทางออนไลน์ที่มีอยู่ ก็ไม่ได้มีการอัพเดท หรือใช้ช่องทางนี้เลย ส่งผลให้ยอดขายของทางวิสาหกิจชุมชนลดลง
4. ด้านการบัญชี วิสาหกิจชุมชนไม่มีการบันทึกบัญชี ทำให้ไม่ทราบถึงต้นทุนและผลกำไรที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังไม่มีนโยบายในการกันกำไรและปันส่วนที่ชัดเจน ส่งผลให้ในอนาคตไม่มีเงินทุนในการพัฒนาธุรกิจเมื่อทางกลุ่มนักศึกษาได้ทำการสอบถามและพูดคุยถึงปัญหาต่าง ๆ ที่พบ จึงได้ทำการวางแผนและแบ่งหน้าที่
การทำงานภายในกลุ่มนักศึกษาเป็น 4 ฝ่าย โดยแต่ละฝ่ายมีหน้าที่การดำเนินงาน ดังนี้
1. ด้านการผลิต ติดต่อสื่อสารกับวิสาหกิจในด้านการผลิตสินค้า พัฒนาผลิตภัณฑ์โดยให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายที่ทางกลุ่มตั้งเอาไว้ สื่อสารถึงเหตุผลในการผลิตสินค้าชนิดใหม่ ร่วมลงมือผลิตสินค้าร่วมกับวิสาหกิจชุมชน และติดต่อกับผู้จัดหาวัตถุดิบเพิ่มเติม
2. ด้านบรรจุภัณฑ์ มีหน้าที่ออกแบบตราสินค้าและการสร้างอัตลักษณ์เพื่อให้เกิดการจดจำในตราสินค้าและตัวสินค้าเพื่อสร้างความเป็นเอกลักษณ์ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อความเป็นมาตรฐานเดียวกันในการส่งมอบสินค้าสู่มือลูกค้า การให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวสินค้ารวมถึงสร้างการรับรู้ผ่านการเล่าเรื่องราวของวิสาหกิจชุมชน และสุดท้ายคือการขนส่งที่มีความสะดวกต่อทั้งผู้ส่งและผู้รับ
3. ด้านการตลาด หน้าที่การดำเนินงานของฝ่ายการตลาดเริ่มตั้งแต่การจัดหาช่องทางการจัดจำหน่ายเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นทางออนไลน์หรืออฟไลน์ อีกทั้งยังทำการโปรโมทและทำสื่อประชาสัมพันธ์วิสาหกิจชุมชนให้เป็นที่รู้จักออกไปในวงกว้าง
4. ด้านการบัญชี หน้าที่การดำเนินงานของฝ่ายบัญชีเริ่มตั้งแต่วางระบบบัญชีต้นทุน ตั้งราคาขาย สอนการบันทึกบัญชี เช่น การบันทึกยอดขาย การบันทึกต้นทุนขาย เป็นต้น รวมถึงให้คำปรึกษาและแนะนำเกี่ยวกับการบริหารจัดการเงิน การกันกำไรจากการขายเพื่อที่จะมีเงินทุนในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนใน
อนาคตอย่างยั่งยืน
ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานประมาณ 5 เดือนที่ผ่านมา กลุ่มนักศึกษาได้ร่วมทำงานกับวิสาหกิจชุมชนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งเป้าไว้ก่อนการดำเนินงาน ซึ่งแตกต่างจากเดิมที่ทางประธานวิสาหกิจชุมชนเป็นผู้ดำเนินงานเพียงผู้เดียว แต่ปัจจุบันมีการจ้างแรงงานในสายงานผลิตอย่างชัดเจน เป็นการกระจายรายได้
ให้กับสมาชิกในชุมชนอย่างเหมาะสม แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 ส่งผลให้รายได้ปัจจุบันของวิสาหกิจชุมชนอาจจะยังไม่สะท้อนความเป็นจริง เนื่องจากทางวิสาหกิจชุมชนไม่สามารถนำสินค้าไปวางขายในงานแสดงสินค้าต่าง ๆ ได้ ทำให้รายได้ในช่วงที่ผ่านมานั้นเป็นรายได้หลักที่มาจากช่องทางออนไลน์
นอกจากนี้ทางกลุ่มยังมีการแนะนำสมาชิกในวิสาหกิจชุมชนถึงการบันทึกบัญชี ทำให้วิสาหกิจชุมชนสามารถจัดการรายได้และมีการบันทึกบัญชีอย่างเหมาะสม รวมถึงมีสร้างนโยบายการกันกำไรเพื่อความยั่งยืนในอนาคต ในเรื่องช่องทางการขายและโปรโมท ปัจจุบันช่องทางการขายออนไลน์ของวิสาหกิจชุมชนมียอดกด like และยอดติดตามในเพจวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมสุขใจ 173 คน ในช่องทาง Facebook และ 234 คน ในช่องทาง Instagram (ข้อมูล ณ วันที่ 8 พ.ค. 65) และทางกลุ่มได้มีการสอบถามและรับฟังความคิดเห็นของลูกค้า เพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์และการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนให้ดีขึ้น โดยมีจุดเป้าหมายสูงสุด คือ วิสาหกิจชุมชนสามารถยืนหยัดได้ด้วยตนเองและสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างเป็นระบบอย่างยั่งยืนหลังจากจบโครงการธรรมศาสตร์โมเดล
วิสาหกิจชุมชนโคเนื้อบราห์มันบ้านแซมไอซ์ เป็นวิสาหกิจชุมชนที่เลี้ยงโคเนื้อบราห์มัน เเละหารายได้เสริมจากการนาหญ้าหวานอิสราเอลที่ปลูกเพื่อเป็นอาหารหลักของวัวไปขายแก่ฟาร์มอื่น ๆ รวมถึงนามูลวัวไปตากแห้งเพื่อนาไปขายเป็นปุ๋ยแก่เกษตรกรในพื้นที่ใกล้ ๆ โดยกลุ่มนักศึกษาได้มีโอกาสเข้าไปร่วมมือกับชุมชน เพื่อพัฒนาธุรกิจดังกล่าวเป็นระยะเวลา 5 เดือน ภายใต้รายวิชา มธ.100 พลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมาคมเพื่อนชุมชน และ บริษัท Indorama Ventures Group
จากการสอบถามปัญหาและความต้องการในชุมชน พบว่าชุมชนขาดแคลนวัตถุดิบ ทาให้สามารถผลิตสินค้าได้จากัด รวมถึงสินค้าที่ได้ไม่มีมาตรฐาน เเละไม่มีแบรนด์โลโก้เป็นของตัวเอง ส่งผลให้ฐานลูกค้าจากัดอยู่ที่คนในพื้นที่ใกล้เคียงเท่านั้น ทาให้วิสาหกิจชุมชนมีรายได้ที่จากัดตามมา อีกทั้งทางชุมชนยังไม่มีระบบการจดบัญชีที่ชัดเจน ทาให้ไม่ทราบต้นทุนที่แท้จริง ดังนั้นทางชุมชนจึงมีความต้องการที่จะให้ช่วยพัฒนาคุณภาพสินค้าโดยการลงทุนซื้อเครื่องจักรที่จาเป็นในการแปรรูป ช่วยสร้างเเบรนด์ โลโก้ และ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ รวมถึงขยายช่องทางการขาย เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายมากขึ้นอีกด้วย กลุ่มนักศึกษาได้วางแผนและดาเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหา และ ตอบสนองความต้องการของชุมชน โดยแบ่งออกเป็นด้านต่าง ๆ ดังนี้
ด้านการจัดหาแหล่งวัตถุดิบ จากที่กล่าวมาข้างต้น วิสาหกิจชุมชนขาดวัตถุดิบ เนื่องจากเพิ่งเริ่มจดทะเบียนได้เพียง 2 ปี ยังมีจานวนวัวค่อนข้างน้อย เเละหญ้าที่ปลูกได้ นอกจากจะต้องเอาไปขายเเล้วก็ยังต้องเอาไปเลี้ยงวัวอีกด้วย อันส่งผลให้สามารถขายสินค้าได้จานวนจากัด ยากที่จะขยายธุรกิจในอนาคต ดังนั้นทางกลุ่มนักศึกษาจึงลงพื้นที่ไปหาชาวสวน และ เจ้าของฟาร์มวัวบริเวณอาเภอบ้านฉาง เพื่อสอบถามปัญหา ชี้ให้เห็นถึงข้อดีข้อเสียของการปลูกพืชเดิมที่ปลูกอยู่ อันได้แก่ มันสาปะหลัง และ สับปะรด โน้มน้าวให้เห็นความสาคัญของการกระจายความเสี่ยงของการปลูกพืชผลทางการเกษตร โดยการปลูกหญ้าหวานอิสราเอลร่วมกับพืชชนิดอื่น รวมถึงเกลี้ยกล่อมให้เข้าร่วมทาสัญญากับวิสาหกิจโดยการนาหญ้าหวานอิสราเอลที่ปลูก และ มูลวัวตากแห้งมาขายให้กับวิสาหกิจชุมชน ภายในฤดูการผลิตหน้า (เดือนธันวาคม พ.ศ. 2565) อันจะส่งผลให้ในส่วนของหญ้าหวานอิสราเอลมีกาลังการผลิตมากขึ้น 50% คือจาก 20 ไร่เป็น 30 ไร่ เเละส่วนของมูลวัวตากแห้งจะมีกาลังการผลิตมากขึ้น 3 เท่า จาก 60 ถุงต่อเดือนเป็น 180 ถุงต่อเดือน จากการติดต่อขอซื้อมูลวัวจากชุมชนใกล้เคียง
ด้านการพัฒนาสินค้า เดิมทีการค้าขายของวิสาหกิจชุมชนจะจากัดอยู่เพียงแค่คนในพื้นที่ที่รู้จักกัน ดังนั้นตัวสินค้ามูลวัวตากแห้งจึงมีกรรมวิธีแปรรูปที่อาศัยแรงงานคนในการบดให้ละเอียด รวมถึงไม่ได้มีบรรจุภัณฑ์ที่เป็นกิจลักษณะ คือ ใช้ถุงปุ๋ยมือสองเเละเชือกฟางในการบรรจุ อันส่งผลให้สินค้าไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจน ดังนั้นกลุ่มนักศึกษาจึงลงพื้นที่ไปสารวจตลาด เพื่อออกแบบบรรจุภัณฑ์ จัดหาซื้อเครื่องบดละเอียดที่จะช่วยบดมูลวัวที่มีลักษณะเป็นก้อนขนาดใหญ่ ให้มีเนื้อละเอียดยิ่งขึ้น ทาให้ง่ายต่อการดูดซึมของพืช เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ทาให้สามารถสร้างกาไรมากขึ้นถึง 67.5% จากราคาขายถุงละ 27 บาท เพิ่มเป็นราคาถุงละ 40 บาท นอกจากนี้สาหรับหญ้าหวานอิสราเอลที่ค้าขายเป็นอาหารสัตว์ โดยปกติแล้วจะขายในรูปแบบหญ้าสด และ ขายในราคาต้นละ 1 บาท ทาให้ได้กาไรน้อย หลังจากกลุ่มนักศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับตลาดหญ้าหวานอิสราเอลก็ได้เสนอสินค้าใหม่ให้แก่วิสาหกิจชุมชน ได้แก่ การขายหญ้าในรูปแบบของท่อนพันธุ์สาหรับนาไปเพาะปลูกต่อ และ หญ้าหวานตากแห้งซึ่งเป็นอาหารสัตว์เล็ก เช่น กระต่าย หนู และ เต่า ส่งผลให้สามารถสร้างกาไรเพิ่มมากได้จากเดิม 5.4 เท่า (ในกรณีที่ใช้ระยะเวลาในการผลิตเเละทรัพยากรเท่ากัน) ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ใหม่ได้รับการตอบรับจากตลาดอย่างดีเยี่ยม จากการที่ร้านตัวแทนจาหน่ายทั้งหมด 3 ร้านจาก 6 ร้าน สั่งซื้อสินค้าซ้าในปริมาณที่มากกว่าเดิม 3 เท่า ภายในเวลา 1 อาทิตย์หลังจากวางขายผลิตภัณฑ์ในตลาด
ด้านการตลาด กลุ่มนักศึกษาได้ช่วยออกแบบโลโก้ และ บรรจุภัณฑ์สินค้ามูลวัวตากแห้ง และ หญ้าหวานอิสราเอลตากแห้งที่ตอบโจทย์ลูกค้า คือ มีความสวยงาม มีขนาดเหมาะสม และ สามารถขนส่งได้สะดวก ซึ่งทาให้สามารถยกระดับความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจ อันส่งผลให้สามารถสร้างเเละขยายฐานลูกค้าทั้งแบบ B2B เเละ B2C เพื่อรองรับการเติบโตของวิสาหกิจในอนาคตวิสาหกิจชุมชนเดิมที่จะเป็นที่รู้จักในกลุ่มลูกค้าโดยการบอกปากต่อปาก และ มีช่องทางติดต่อผ่านทางโทรศัพท์เท่านั้น ดังนั้นกลุ่มนักศึกษาจึงเข้ามาช่วยสร้างช่องทางการขายออนไลน์ ได้แก่ เพจเฟซบุ๊ก และ ไลน์ Official โดนจะเน้นไปที่การขายในกลุ่มเฟซบุ๊คที่เกี่ยวข้องกับสินค้าของเรา เช่น “กลุ่มจาหน่าย หญ้าสดพันธุ์หญ้า เลี้ยงสัตว์ทุกชนิด”, “กลุ่มหญ้าหวานอิสราเอล สาหรับสัตว์เลี้ยงทุกชนิด” เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการจัดทารูปภาพ และ วิดีโอ เพื่อเป็นคอนเท้นต์ให้ลูกค้ารู้จักทั้งสินค้าและ ตัววิสาหกิจชุมชนเอง โดยตลอดระยะเวลาดาเนินงาน สามารถสร้างยอดเข้าถึง (Reach) ได้ทั้งหมด 9,979 ครั้ง นอกจากนี้สาหรับหญ้าหวานตากแห้งที่เป็นสินค้าใหม่ กลุ่มนักศึกษาก็เข้ามาช่วยหาร้านตัวแทนจาหน่ายซึ่งเป็นร้านขายอาหารสัตว์ในพื้นที่จานวน 6 ร้าน โดยทาการติดต่อ และ ปิดการขายเพื่อเป็นแนวทางแก่วิสาหกิจในอนาคต
ด้านการบัญชี กลุ่มนักศึกษาได้ออกแบบวิธีการบันทึกบัญชีที่เรียบง่าย และตอบโจทย์วิสาหกิจชุมชน เพื่อให้วิสาหกิจสามารถทราบถึงรายได้ รายจ่าย และต้นทุนสินค้าแต่ละชนิดอย่างครบถ้วน และถูกต้อง
ด้านความยั่งยืน จากการดาเนินงานตลอดระยะเวลา 4 เดือน ส่งผลให้วิสาหกิจมีรายได้รวมทุกผลิตภัณฑ์ทั้ง ปุ๋ยมูลวัว หญ้าหวานอิสราเอล และหญ้าหวานอิสราเอลตากแห้ง เท่ากับ 67,850 บาท โดยในเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งเป็นเดือนที่มีการบันทึกบัญชีครั้งเเรก วิสาหกิจมีรายได้ 6,300 บาท เเละในเดือนพฤษภาคม วิสาหกิจมีรายได้ 31,825 บาท (แบ่งเป็นหญ้าหวานฯ 62% ปุ๋ยมูลวัว 10.2% และหญ้าหวานอิสราเอลตากแห้ง 27.8%) ซึ่งมากกว่าเดิม 5 เท่า แสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่วิสาหกิจชุมชนมี และจะส่งผลต่อความยั่งยืนในการสร้างรายได้ของวิสาหกิจในอนาคต โดยก่อนจะจบโครงการ กลุ่มนักศึกษาได้ส่งต่อความรู้และกระบวนการทางานต่างๆ ให้กับวิสาหกิจชุมชน เช่น วิธีการลงบัญชี, วิธีการออกใบเสนอราคาและใบเสร็จรับเงิน, ไฟล์โลโก้ใหม่ของวิสาหกิจ, ช่องทางสั่งซื้อบรรจุภัณฑ์, ช่องทางติดต่อร้านตัวแทนจาหน่าย, เพจเฟซบุ๊กเเละไลน์เพื่อใช้สื่อสารกับลูกค้าภายนอกชุมชน ทั้งหมดนี้ก็เพื่อความยั่งยืนในการดาเนินกิจการในอนาคต
วิสาหกิจชุมชนมุมดินฟาร์มเกษตร ตั้งอยู่ในอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ซึ่งมีผลิตภัณฑ์หลักคือ ปุ๋ยมูลไส้เดือน น้ำหมักมูลไส้เดือน และผักสด ต้นอ่อนต่างๆ ก่อตั้งขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้สมาชิกชุมชนซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่ว่างงานได้มีโอกาสสร้างรายได้และพบปะพูดคุยกับผู้อื่นมากขึ้น หลังจากที่กลุ่มนักศึกษาได้ไปลงพื้นที่ เพื่อพูดคุยถึงปัญหาและการดำเนินการของชุมชนแล้ว สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ด้านดังนี้ ด้านการผลิต ด้านการขายและการตลาด ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และด้านบัญชี
ทางฝ่ายการดำเนินงานและการจัดการได้เข้ามาควบคุมกระบวนการผลิตของปุ๋ยมูลไส้เดือน เพื่อให้ปุ๋ยมูลไส้เดือนมีมาตรฐานเดียวกันและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งมีการช่วยชุมชนในด้านการหาซัพพลายเออร์มูลวัวนม เพื่อลดอัตราการเกิดของเสียในกระบวนการผลิต และช่วยต่อรองราคากับซัพพลายเออร์เพื่อลดต้นทุน นอกจากนี้มีการวางแผนสำหรับการเพิ่มกำลังการผลิตของชุมชนในอนาคต จึงจัดทำตารางคำนวณวัตถุดิบที่ต้องใช้ และมีการออกแบบโครงร่างโรงเรือนสำหรับพืชผักเพื่อให้การปลูกพืชผักของวิสาหกิจมีมาตรฐานมากขึ้น
ด้านการผลิต
ในการสร้างมาตรฐานในการผลิต ทางฝ่ายได้นำเครื่องวัดความชื้น อุณหภูมิและแสง มาใช้เพื่อควบคุมกระบวนการผลิตสินค้า แต่เครื่องมือวัดไม่สามารถวัดค่าต่าง ๆ ได้อย่างละเอียด จึงทำให้ไม่สามารถสร้างมาตรฐานการผลิตจากการใช้เครื่องวัดความชื้นได้ ทำให้ทางฝ่ายสร้างมาตรฐานการทดลองจากการเปรียบเทียบจำนวนวันเลี้ยงไส้เดือนและการแช่วัตถุดิบแทน นอกจากนี้ในขั้นตอนการจดทะเบียน GAP เกิดความล่าช้าในกระบวนการทำงานกว่าที่คาดการณ์ไว้ประมาณ 1 เดือน ทางฝ่ายจึงได้ดำเนินการติดตามผลการดำเนินงานเป็นระยะ และระหว่างนี้จึงจัดทำบันทึกการปลูกผักเพื่อเป็นหนึ่งในเอกสารประกอบการจดทะเบียน GAP ผ่านรูปแบบ Google Form แต่ทางวิสาหกิจชุมชนไม่สะดวกใช้งาน ทางฝ่ายจึงได้ปรับรูปแบบเป็นตารางจดบันทึกลงบนกระดาษแทน
ด้านการขายและการตลาด
ทางฝ่ายการตลาด มีการขยายช่องทางการขายสินค้า (ขายปลีก) ได้แก่ ช่องทาง Shopee และ Line official และได้มีการปรับปรุงฉลาก โดยลดขนาดของฉลากเพื่อให้ต้นทุนของสินค้ามีราคาถูกลง และมีการออกแบบใหม่ให้น่าดึงดูดมากขึ้น อีกทั้งยังมีการจัดหาสตูดิโอเคลื่อนที่พร้อมถ่ายภาพสินค้าใหม่เพื่อใช้ในการขายออนไลน์ และได้มีการทำการตลาดในช่องทาง Tiktok และ Facebook เพื่อรีวิวสินค้า
ในระหว่างการดำเนินการ ฝ่ายการขายและการตลาดพบปัญหาดังนี้ ปัญหาแรกคือการเปลี่ยนกระดาษฉลากหลายครั้ง เนื่องจากฉลากอันเก่า มีสีที่ไม่ติดทนและไม่กันน้ำ ทางฝ่ายจึงได้เปลี่ยนเป็นกระดาษชนิด PVC ซึ่งกันน้ำและทนแดดมาใช้ อีกทั้งยังมีราคาที่ถูกกว่า ปัญหาถัดมาคือวิสาหกิจชุมชนใช้ Line account ส่วนตัวในการรับออเดอร์ลูกค้า ทำให้สามารถตอบข้อความได้เพียงคนเดียว ทางฝ่ายจึงได้สร้าง Line Official Account เพื่อให้สมาชิกในวิสาหกิจชุมชนสามารถช่วยกันตอบแชทได้ อีกทั้งในช่วงที่ตลาดปุ๋ยมูลไส้เดือนค่อนข้างซบเซา ทำให้ร้านค้าเกษตรปฏิเสธการสั่งสินค้า ทางฝ่ายจึงได้แก้ปัญหาโดยให้ร้านค้าทดลองวางขายปุ๋ยดูก่อนเป็นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ โดยยังไม่เก็บเงิน ทำให้เจ้าของร้านเกษตรหลาย ๆ ร้านเปิดรับและลองขายสินค้าของวิสาหกิจชุมชน นำไปสู่การกลับมาซื้อซ้ำจนเป็นลูกค้าประจำ
ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์
ทางฝ่ายออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ มีการจัดทำคู่มืออธิบายวิธีการใช้งานปุ๋ยมูลไส้เดือน เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อแนะนำ ข้อควรรู้ในการใช้งานปุ๋ยมูลไส้เดือน ให้ความรู้เรื่องเชื้อราไตรโค-เดอร์มาและการเกิดไอน้ำที่เกิดขึ้นหลังจากบรรจุปุ๋ยมูลไส้เดือนลงไปในถุง และในการเริ่มทำผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้มีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 9 คน ที่มีอายุระหว่าง 25-35 ปี มีรายได้ปานกลาง อาศัยอยู่ในคอนโดหรือหอพัก ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของผลิตภัณฑ์ Set box สำหรับปลูกต้นไม้ เพื่อนำข้อมูลมาออกแบบและพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย หลังจากนั้นจึงได้จัดหาซัพพลายเออร์สำหรับ Set box ปลูกพืชที่มีราคาถูกและคุณภาพเหมาะสม ทั้งจากช่องทางออนไลน์และออฟไลน์จึงได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ Set box ปลูกต้นไม้ โดยเป็นชุดปลูกแคคตัสและกุหลาบหิน ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าของปุ๋ยมูลไส้เดือน และทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้นกว่าเดิม
ในระหว่างการดำเนินการ ฝ่ายการพัฒนาผลิตภัณฑ์พบปัญหาดังนี้ จากการที่ลูกค้าไม่สนใจซื้อปุ๋ย เนื่องจากเข้าใจว่าไอน้ำและเชื้อราไตรโคเดอร์มาส่งผลต่อคุณภาพของปุ๋ย ดังนั้นเราจึงใช้วิธีการจัดทำคู่มือแนะนำวิธีใช้ใหม่ เพื่อให้ลูกค้าทราบถึงข้อควรรู้ต่าง ๆ แทน และในการเลือกพืชสำหรับ Set box จำเป็นต้องมีการเลือกพืชที่สามารถคงอยู่ในสภาพที่ดีในระหว่างขนส่ง และเป็นพันธุ์พืชที่เป็นที่นิยม ในตอนแรกจึงตัดสินใจเลือกบอนสี แต่พบว่าหัวบอนเน่าและเกิดเชื้อราบางส่วน ทางฝ่ายจึงได้เลือกแคคตัสและกุหลาบหินแทน และจากการที่อุปกรณ์ใน Set box มีปัญหาด้านซัพพลายเออร์ เนื่องจากมีราคาที่สูงและค่าขนส่งแพง ทางฝ่ายจึงได้มีการติดต่อทางร้านอุปกรณ์ไปโดยตรง เพื่อให้สามารถซื้ออุปกรณ์ได้ในราคาส่ง เนื่องจากต้องสั่งในปริมาณมาก และให้มีการจัดส่งนอกระบบแพลตฟอร์มซื้อของออนไลน์เพื่อเป็นการลดต้นทุนด้านค่าส่ง
ด้านการบัญชี
วิสาหกิจชุมชนจะมีการจดบันทึกบัญชีรายรับรายจ่ายในเบื้องต้น แต่ก็ยังขาดการจดบันทึกอย่างเป็นระบบ อีกทั้งวิสาหกิจชุมชนไม่ได้มีการนำข้อมูลที่จดบันทึกมาวิเคราะห์คำนวณต้นทุนที่แน่ชัด ทำให้ไม่ทราบว่าแท้จริงแล้วมีกำไรมากน้อยเพียงใด ฝ่ายบัญชีจึงได้ดำเนินการตั้งแต่การทำแบบฟอร์มการบันทึกบัญชีใหม่ให้มีความเป็นระบบมากขึ้น ประกอบด้วย การบันทึกบัญชีรายรับรายจ่าย ระบบคลังสินค้าและวัสดุ ตลอดจนระบบคำนวณต้นทุนของสินค้า ซึ่งมีทั้งรูปแบบในโปรแกรม Excel และแบบบันทึกลงกระดาษ เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อผู้จดบันทึกบัญชี ตลอดจนจัดทำคู่มือการจดบันทึกแบบฟอร์มบันทึกบัญชีให้แก่วิสาหกิจชุมชนอีกด้วย นอกจากนี้ยังช่วยคำนวณต้นทุนของทั้งปุ๋ยมูลไส้เดือนและต้นอ่อน ทำให้สามารถลดต้นทุนวัตถุดิบลงได้
ในระหว่างการดำเนินงานฝ่ายบัญชีพบปัญหาตั้งแต่การคำนวณต้นทุน เนื่องจากวิสาหกิจชุมชนไม่ได้มีการจดบันทึกปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตกับผลผลิตที่ได้ทำให้ต้องมีการทดลองผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนเพื่อเก็บตัวเลข หลังจากการคำนวณหาต้นทุนต้นอ่อนพบว่าต้นอ่อนบางชนิดมีผลกำไรน้อย จึงได้พูดคุยกับวิสาหกิจชุมชน และได้ข้อสรุปว่าจะดำเนินการปลูกต้นอ่อนต่อไป เพราะต้นอ่อนเป็นผลิตภัณฑ์ต่อยอดที่เน้นส่งเสริมคุณค่าของปุ๋ยมูลไส้เดือนมากกว่าผลกำไรและทำให้สมาชิกชุมชนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน นอกจากนี้ทางฝ่ายได้มีการจัดทำแบบฟอร์มบันทึกบัญชีให้แก่ทางวิสาหกิจชุมชนแล้วทดลองให้วิสาหกิจชุมชนใช้งาน จึงพบว่าไฟล์ที่ส่งให้มีปัญหาทางเทคนิคและมีขนาดไฟล์ใหญ่ ทางฝ่ายจึงได้ทำการแก้ไขและส่งมอบให้ชุมชนได้ใช้งานต่อไป
แม้ว่าระยะเวลาโครงการจะมีอยู่จำกัด ทำให้การดำเนินงานทั้งหมดให้สำเร็จลุล่วงนั้นเป็นไปได้ยาก ทางกลุ่มจึงได้จัดทำคู่มือการดำเนินงานของทุกด้าน โดยด้านการผลิต มีการอธิบายแผนการเพิ่มกำลังการผลิต และการทำแบบแปลนโรงเรือนในอนาคต ด้านการขายและการตลาด มีการอธิบายช่องทางในการทำการตลาด และการสั่งซื้อฉลากสินค้า ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ มีการอธิบายขั้นตอนการจัดเตรียม Set box และด้านบัญชี อธิบายหลักการบัญชีอย่างง่ายและแผนในการลงหุ้นของสมาชิกชุมชน ทั้งนี้ก็เพื่อสานต่อการดำเนินงานในทุกด้าน ให้เกิดผลสำเร็จอย่างแท้จริง
จากการดำเนินงานตลอด 5 เดือนที่ผ่านมา ทางกลุ่มเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าแนวทางที่ได้ร่วมวางแผนปรับปรุงและพัฒนา อีกทั้งยังได้จัดทำคู่มือการดำเนินงานของทุกด้านอย่างละเอียด จะทำให้วิสาหกิจชุมชนมุมดินฟาร์มเกษตรสามารถเติบโตไปได้อย่างยั่งยืนในอนาคต
ด้านการจัดหาแหล่งวัตถุดิบ จากที่กล่าวมาข้างต้น วิสาหกิจชุมชนขาดวัตถุดิบ เนื่องจากเพิ่งเริ่มจดทะเบียนได้เพียง 2 ปี ยังมีจานวนวัวค่อนข้างน้อย เเละหญ้าที่ปลูกได้ นอกจากจะต้องเอาไปขายเเล้วก็ยังต้องเอาไปเลี้ยงวัวอีกด้วย อันส่งผลให้สามารถขายสินค้าได้จานวนจากัด ยากที่จะขยายธุรกิจในอนาคต ดังนั้นทางกลุ่มนักศึกษาจึงลงพื้นที่ไปหาชาวสวน และ เจ้าของฟาร์มวัวบริเวณอาเภอบ้านฉาง เพื่อสอบถามปัญหา ชี้ให้เห็นถึงข้อดีข้อเสียของการปลูกพืชเดิมที่ปลูกอยู่ อันได้แก่ มันสาปะหลัง และ สับปะรด โน้มน้าวให้เห็นความสาคัญของการกระจายความเสี่ยงของการปลูกพืชผลทางการเกษตร โดยการปลูกหญ้าหวานอิสราเอลร่วมกับพืชชนิดอื่น รวมถึงเกลี้ยกล่อมให้เข้าร่วมทาสัญญากับวิสาหกิจโดยการนาหญ้าหวานอิสราเอลที่ปลูก และ มูลวัวตากแห้งมาขายให้กับวิสาหกิจชุมชน ภายในฤดูการผลิตหน้า (เดือนธันวาคม พ.ศ. 2565) อันจะส่งผลให้ในส่วนของหญ้าหวานอิสราเอลมีกาลังการผลิตมากขึ้น 50% คือจาก 20 ไร่เป็น 30 ไร่ เเละส่วนของมูลวัวตากแห้งจะมีกาลังการผลิตมากขึ้น 3 เท่า จาก 60 ถุงต่อเดือนเป็น 180 ถุงต่อเดือน จากการติดต่อขอซื้อมูลวัวจากชุมชนใกล้เคียง
ด้านการพัฒนาสินค้า เดิมทีการค้าขายของวิสาหกิจชุมชนจะจากัดอยู่เพียงแค่คนในพื้นที่ที่รู้จักกัน ดังนั้นตัวสินค้ามูลวัวตากแห้งจึงมีกรรมวิธีแปรรูปที่อาศัยแรงงานคนในการบดให้ละเอียด รวมถึงไม่ได้มีบรรจุภัณฑ์ที่เป็นกิจลักษณะ คือ ใช้ถุงปุ๋ยมือสองเเละเชือกฟางในการบรรจุ อันส่งผลให้สินค้าไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจน ดังนั้นกลุ่มนักศึกษาจึงลงพื้นที่ไปสารวจตลาด เพื่อออกแบบบรรจุภัณฑ์ จัดหาซื้อเครื่องบดละเอียดที่จะช่วยบดมูลวัวที่มีลักษณะเป็นก้อนขนาดใหญ่ ให้มีเนื้อละเอียดยิ่งขึ้น ทาให้ง่ายต่อการดูดซึมของพืช เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ทาให้สามารถสร้างกาไรมากขึ้นถึง 67.5% จากราคาขายถุงละ 27 บาท เพิ่มเป็นราคาถุงละ 40 บาท นอกจากนี้สาหรับหญ้าหวานอิสราเอลที่ค้าขายเป็นอาหารสัตว์ โดยปกติแล้วจะขายในรูปแบบหญ้าสด และ ขายในราคาต้นละ 1 บาท ทาให้ได้กาไรน้อย หลังจากกลุ่มนักศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับตลาดหญ้าหวานอิสราเอลก็ได้เสนอสินค้าใหม่ให้แก่วิสาหกิจชุมชน ได้แก่ การขายหญ้าในรูปแบบของท่อนพันธุ์สาหรับนาไปเพาะปลูกต่อ และ หญ้าหวานตากแห้งซึ่งเป็นอาหารสัตว์เล็ก เช่น กระต่าย หนู และ เต่า ส่งผลให้สามารถสร้างกาไรเพิ่มมากได้จากเดิม 5.4 เท่า (ในกรณีที่ใช้ระยะเวลาในการผลิตเเละทรัพยากรเท่ากัน) ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ใหม่ได้รับการตอบรับจากตลาดอย่างดีเยี่ยม จากการที่ร้านตัวแทนจาหน่ายทั้งหมด 3 ร้านจาก 6 ร้าน สั่งซื้อสินค้าซ้าในปริมาณที่มากกว่าเดิม 3 เท่า ภายในเวลา 1 อาทิตย์หลังจากวางขายผลิตภัณฑ์ในตลาด
ด้านการตลาด กลุ่มนักศึกษาได้ช่วยออกแบบโลโก้ และ บรรจุภัณฑ์สินค้ามูลวัวตากแห้ง และ หญ้าหวานอิสราเอลตากแห้งที่ตอบโจทย์ลูกค้า คือ มีความสวยงาม มีขนาดเหมาะสม และ สามารถขนส่งได้สะดวก ซึ่งทาให้สามารถยกระดับความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจ อันส่งผลให้สามารถสร้างเเละขยายฐานลูกค้าทั้งแบบ B2B เเละ B2C เพื่อรองรับการเติบโตของวิสาหกิจในอนาคตวิสาหกิจชุมชนเดิมที่จะเป็นที่รู้จักในกลุ่มลูกค้าโดยการบอกปากต่อปาก และ มีช่องทางติดต่อผ่านทางโทรศัพท์เท่านั้น ดังนั้นกลุ่มนักศึกษาจึงเข้ามาช่วยสร้างช่องทางการขายออนไลน์ ได้แก่ เพจเฟซบุ๊ก และ ไลน์ Official โดนจะเน้นไปที่การขายในกลุ่มเฟซบุ๊คที่เกี่ยวข้องกับสินค้าของเรา เช่น “กลุ่มจาหน่าย หญ้าสดพันธุ์หญ้า เลี้ยงสัตว์ทุกชนิด”, “กลุ่มหญ้าหวานอิสราเอล สาหรับสัตว์เลี้ยงทุกชนิด” เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการจัดทารูปภาพ และ วิดีโอ เพื่อเป็นคอนเท้นต์ให้ลูกค้ารู้จักทั้งสินค้าและ ตัววิสาหกิจชุมชนเอง โดยตลอดระยะเวลาดาเนินงาน สามารถสร้างยอดเข้าถึง (Reach) ได้ทั้งหมด 9,979 ครั้ง นอกจากนี้สาหรับหญ้าหวานตากแห้งที่เป็นสินค้าใหม่ กลุ่มนักศึกษาก็เข้ามาช่วยหาร้านตัวแทนจาหน่ายซึ่งเป็นร้านขายอาหารสัตว์ในพื้นที่จานวน 6 ร้าน โดยทาการติดต่อ และ ปิดการขายเพื่อเป็นแนวทางแก่วิสาหกิจในอนาคต
ด้านการบัญชี กลุ่มนักศึกษาได้ออกแบบวิธีการบันทึกบัญชีที่เรียบง่าย และตอบโจทย์วิสาหกิจชุมชน เพื่อให้วิสาหกิจสามารถทราบถึงรายได้ รายจ่าย และต้นทุนสินค้าแต่ละชนิดอย่างครบถ้วน และถูกต้อง
ด้านความยั่งยืน จากการดาเนินงานตลอดระยะเวลา 4 เดือน ส่งผลให้วิสาหกิจมีรายได้รวมทุกผลิตภัณฑ์ทั้ง ปุ๋ยมูลวัว หญ้าหวานอิสราเอล และหญ้าหวานอิสราเอลตากแห้ง เท่ากับ 67,850 บาท โดยในเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งเป็นเดือนที่มีการบันทึกบัญชีครั้งเเรก วิสาหกิจมีรายได้ 6,300 บาท เเละในเดือนพฤษภาคม วิสาหกิจมีรายได้ 31,825 บาท (แบ่งเป็นหญ้าหวานฯ 62% ปุ๋ยมูลวัว 10.2% และหญ้าหวานอิสราเอลตากแห้ง 27.8%) ซึ่งมากกว่าเดิม 5 เท่า แสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่วิสาหกิจชุมชนมี และจะส่งผลต่อความยั่งยืนในการสร้างรายได้ของวิสาหกิจในอนาคต โดยก่อนจะจบโครงการ กลุ่มนักศึกษาได้ส่งต่อความรู้และกระบวนการทางานต่างๆ ให้กับวิสาหกิจชุมชน เช่น วิธีการลงบัญชี, วิธีการออกใบเสนอราคาและใบเสร็จรับเงิน, ไฟล์โลโก้ใหม่ของวิสาหกิจ, ช่องทางสั่งซื้อบรรจุภัณฑ์, ช่องทางติดต่อร้านตัวแทนจาหน่าย, เพจเฟซบุ๊กเเละไลน์เพื่อใช้สื่อสารกับลูกค้าภายนอกชุมชน ทั้งหมดนี้ก็เพื่อความยั่งยืนในการดาเนินกิจการในอนาคต
วิสาหกิจชุมชนตัดเย็บเครื่องหนังชนันทน์วัธ อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง เป็นวิสาหกิจชุมชน ที่ทำผลิตภัณฑ์เครื่องหนังจากหนังวัวแท้ โดยมีจุดเด่น คือ งานหนังวัวแท้ โดยมีทั้งงานเย็บมือและใช้เครื่องจักร เย็บด้วยความปราณีต ทำให้มีความคงทน สามารถใช้งานได้นาน ในราคาที่สามารถจับต้องได้ โดยต้องการผลิต และพัฒนาสินค้าเพื่อสร้างรายได้ให้สมาชิกในชุมชน และเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อสร้างงานให้กับผู้ว่างงาน ในชุมชน เช่น แม่บ้าน คนชรา และยังมีการนำเศษหนังมารีไซเคิล โดยผลิตเป็นสินค้าชนิดต่าง ๆ เพื่อลดอัตรา การทิ้งเศษหนัง และยังเป็นการช่วยอนุรักษ์โลกอีกด้วย
โดยกลุ่มนักศึกษาได้มีโอกาสเข้าไปรับฟังปัญหา และให้ความช่วยเหลือกับชุมชน พบว่าในปัจจุบัน ชุมชนยังประสบปัญหาในแง่ของฐานลูกค้าที่ยังมีไม่มากนัก ทำให้ยอดขายและรายได้ยังไม่เพียงพอ ไม่สามารถ กระจายรายได้ให้แก่สมาชิกในชุมชนเท่าที่ควร รวมทั้งด้านผลิตภัณฑ์ที่ขาดความมีเอกลักษณ์ ส่งผลให้สินค้า ไม่เป็นที่โดดเด่น และผู้บริโภคขาดการรับรู้ในคุณค่าของแบรนด์ เนื่องจากขาดช่องทางการขายและการติดต่อ ที่ชัดเจน นอกจากนี้การจัดการทางด้านบัญชียังไม่ได้มาตรฐาน ส่งผลให้งบการเงินไม่สะท้อนถึงกำไรที่แท้จริง กลุ่มนักศึกษาจึงทำการวางแผนและดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของชุมชน ตามฝ่ายต่าง ๆ ดังนี้
1. ฝ่ายวิจัยและพัฒนา
ได้ทำการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิมให้เหมาะสมกับยุคปัจจุบันและมีภาพลักษณ์ที่ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายตามลำดับความสำคัญ พร้อมทั้งออกแบบ Logo เพื่อให้แบรนด์มีจุดขาย และเอกลักษณ์ที่ชัดเจน รวมถึงจะมีการปรับปรุงและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่สื่อถึงตัวตนของแบรนด์มากยิ่งขึ้น และจัดทำคู่มือเกี่ยวกับการดูแลและการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ลูกค้ามีภาพจำที่ดีต่อแบรนด์ ในแง่ของการบริการหลังการขาย ซึ่งจะก่อให้เกิดการกลับมาซื้อซ้ำ
2. ฝ่ายการตลาด และลูกค้าสัมพันธ์
ได้ช่วยในการขยายฐานลูกค้า และพัฒนาช่องทางการขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ให้มากขึ้น เพื่อให้สามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มผู้บริโภคเจเนอร์ เรชั่น Y และเนื่องจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของกลุ่มเป้าหมาย ทำให้มีการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ดังนั้นจึงมีการเคลื่อนไหวแพลตฟอร์มออนไลน์อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการลงคอนเทนต์ให้ลูกค้าให้เข้ามามีส่วนร่วม การทำโฆษณาออนไลน์ และจัดโปรโมชัน เพื่อเพิ่มยอดขาย เพื่อสร้างการรับรู้สินค้าในช่องทางออนไลน์ให้มากขึ้น
3. ฝ่ายบัญชี
ทำการปรับปรุง และสอนวิธีการจัดทำบัญชีให้มีประสิทธิภาพแก่สมาชิกของชุมชน รวมทั้งคำนวณการคิดต้นทุนใหม่ แล้วจึงวางระบบจัดเก็บข้อมูล นอกจากนี้ จะทำการทดสอบภาพรวมของระบบบัญชี และปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่ยังมีข้อผิดพลาดให้สมบูรณ์
ปัญหาและอุปสรรค
1. การสื่อสารระหว่างกลุ่มนักศึกษากับผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์มีความเข้าใจไม่ตรงกัน ทำให้การจัดส่ง บรรจุภัณฑ์ให้กับทางวิสาหกิจชุมชนเกิดความล่าช้า
2. การสื่อสารกับทางวิสาหกิจชุมชนผ่านทางออนไลน์ในเรื่องของการพัฒนาสินค้า เกิดการเข้าใจผิด เล็กน้อย ส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการผลิตสินค้าตัวอย่าง
3. ชุมชนไม่สามารถถ่ายรูปสินค้า และใช้แอพพลิเคชั่นในการขายสินค้าด้วยตนเอง
4. อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของชุมชนมีปัญหา อยู่ในระหว่างการซ่อมแซม
5. จำนวนการเข้าถึงหน้าเพจ Facebook และ Instagram ต่ำ
6. ไม่มีการบันทึกต้นทุนที่แน่นอน
แนวทางการแก้ไขปัญหา
1. เปลี่ยน supplier ใหม่ที่สามารถส่งบรรจุภัณฑ์ได้ภายในเวลาที่กำหนด
2. ปรับแผนสำหรับการออกสินค้า และสื่อสารใหม่อีกครั้ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
3. สอนการถ่ายภาพสินค้าทุกครั้งที่ลงพื้นที่ และแนะนำแอพพลิเคชั่นในการถ่ายภาพ
4. กลุ่มนักศึกษาจัดทำ artwork สำหรับการลงคอนเทนท์ในเบื้องต้น และจัดทำคู่มือการทำ artwork เบื้องต้นสำหรับส่งมอบ
5. พิจารณาการซื้อ Ads และกำหนดกลุ่มเป้าหมายสำหรับสินค้าตัวใหม่
6. ในเบื้องต้นให้ชุมชนบันทึกรายรับรายจ่ายลงในสมุดบัญชีก่อน และตรวจเช็คความเรียบร้อยเป็นระยะ
7. สอบถามชุมชนว่าแต่ละวัตถุดิบสามารถทำสินค้าออกมาได้มากเท่าไร และใช้หลักการประมาณการ ต้นทุน และปรับเปลี่ยนราคาขายให้สอดคล้องกับต้นทุน
ประเมินผลโครงการ
1. ฝ่ายวิจัยและพัฒนา
ตลอดระยะเวลาการดำเนินงาน โครงการที่นักศึกษาได้ร่วมทำกับวิสาหกิจชุมชน สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ได้เป็นอย่างดี โดยมีการออกสินค้าใหม่ 3 ชนิด ได้แก่ กระเป๋าใส่นามบัตร กระเป๋าใส่เหรียญ และกระเป๋าใส่บัตรแบบพับได้ ซึ่งมีการปรับดีไซน์ให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ในปัจจุบัน แต่ยังคงไว้ซึ่งความวินเทจที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนวิสาหกิจ รวมทั้งมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ของสินค้า ได้แก่ ถุงผ้าสกรีนโลโก้แบรนด์ รวมทั้ง Thank You Card ที่มีการระบุข้อมูลวิธีการเก็บรักษาสินค้า การดูแลรักษาผลิตภัณฑ์ รวมถึงมีการระบุช่องทางการติดต่อเพื่อให้ลูกค้าเกิดการกลับมาซื้อซ้ำ
2. ฝ่ายการตลาด และลูกค้าสัมพันธ์
ได้บรรลุวัตถุประสงค์ในทุกด้าน ได้แก่
– ด้านการพัฒนากลยุทธ์การตลาดของวิสาหกิจชุมชน โดยสร้างการติดตามเพจสุทธิบน Instagram page ได้ 1,143 คน และมีผู้เข้าถึงเพจบน Facebook page ได้ 35,278 คน นอกจากนี้ ยังสร้าง content ที่ทำให้สินค้าของชุมชนเป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้น และได้รับการติดต่อจากร้าน Nobaddays ที่เล็งเห็นถึงศักยภาพ ของสินค้าของวิสาหกิจชุมชนผ่านกลยุทธ์การทำการตลาด
– ด้านของยอดติดตามของแพลตฟอร์ม Social Media โดยใน Instagram page มี Growth rate อยู่ที่ 141.2% ใน Facebook page มี Growth rate อยู่ที่ 37% โดยจากทั้งสองช่องทางสามารถ สร้างการเข้าถึง content ได้มากกว่า 79,145 ครั้ง ซึ่งบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งเป้าไว้
3. ฝ่ายบัญชี
ได้มีการบรรลุวัตถุประสงค์ ได้แก่ มีการบันทึกบัญชีที่ถูกต้อง เป็นแบบแผน และละเอียดมากยิ่งขึ้นทางวิสาหกิจชุมชนมีความเข้าใจในด้านการบันทึกบัญชีมากขึ้น และมีการจัดเก็บเอกสารด้านการบัญชี อย่างเป็นระบบและสามารถตรวจสอบการบันทึกบัญชีย้อนหลังได้ นอกจากนี้ มีการพัฒนาระบบคำนวณต้นทุน และกำไรขั้นต้น ซึ่งจะสะท้อนถึงยอดขายและกำไรที่แท้จริงของวิสาหกิจชุมชน รวมถึงสามารถแสดงผล ประกอบการที่ช่วยประกอบการตัดสินใจของวิสาหกิจชุมชนได้อีกด้วย
สัมมาชีพชุมชนบ้านชากมะหาดสัมมาชีพเกิดจากการเป็นหมู่บ้าน เศรษฐกิจพอเพียง เมื่อปี พ.ศ. 2559 ต่อมาทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ได้เข้า มาให้ความรู้เรื่องการสานตะกร้าให้กับทางชุมชน จึงทําให้เกิดองค์ความรู้ในส่วนนี้และต่อยอดเป็นอาชีพเสริมให้คนในชุมชน
โดยทางชุมชนได้ผลิตสินค้าขึ้นมาเองตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บผักตบชวาจนถึงการวางขายทั้งการขาย ให้กับบริษัทที่มารับซื้อและลูกค้าทั่วไปแบบขายปลีก ซึ่งเมื่อเกิดสถานการณ์โควิด19 ทําให้มีคําสั่งซื้อเข้ามาน้อยลงเนื่องจากชุมชนเน้นการขายแบบหน้าร้าน และการออกบูธตามงานต่างๆ โดยมีการวางขายผ่านทางออนไลน์อยู่บ้าง แต่ไม่ได้รับผลตอบรับกลับมาดีเท่าที่ควรรวมถึงมีการดูแลทั้งด้านสินค้าคงคลัง ระบบบัญชีเอง ทั้งหมด
ปัญหาและอุปสรรค
1. ด้านฐานกลุ่มลูกค้าเดิมแคบ
2. อะไหล่ของสินค้าแบบเก่าไม่คงทนเกิดสนิม ราคาสูง
3. ด้านสินค้าและภาพลักษณ์แบรนด์ไม่ชัดเจน
4. ช่องทางการตลาดน้อย ไม่เพียงพอต่อการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ
5. ด้านการบริหารเงินกองกลาง
6. ด้านการคิดต้นทุนและจดบันทึกต้นทุนไม่ละเอียด
7. ด้านการทําสต๊อกสินค้า ไม่มีการควบคุมคุณภาพสินค้า
แนวทางการแก้ไขปัญหา
ด้านกระบวนการผลิต
กลุ่มนักศึกษาได้เข้าไปพัฒนากระบวนการผลิตตั้งแต่การหาแหล่งวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตกระเป๋าใหม่ที่มีคุณภาพดีขึ้นในราคาที่ถูกกว่าเดิม ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการเกิดสนิม และการชํารุดของกระเป๋าได้อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนด้านอะไหล่กระเป๋าให้มีราคาถูกลง ซึ่งส่งผลทําให้ต้นทุนสินค้าตํ่าลง นอกจากนี้ยังได้ทําการจดบันทึกประเภทสินค้าเพื่อทําแคตตาล็อกสินค้าให้มีการจดบันทึกอย่างชัดเจน และได้วางแผนให้มีการจดบันทึกบริหารคลังสินค้าอย่างเป็นระบบ
ด้านผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์
ทางกลุ่มนักศึกษาได้มีการศึกษากลุ่มเป้าหมาย และออกแบบพัฒนาสินค้าใหม่ๆ เพื่อให้เข้ากับ กลุ่มเป้าหมายใหม่มากขึ้น โดยมีการศึกษาจากเทรนด์ในการเลือกใช้กระเป๋าในปัจจุบันที่มีความนิยมในการใช้ กระเป๋าใบเล็กมีความคล่องตัว และสามารถใช้งานได้จริง ซึ่งได้มีการออกแบบสินค้าใหม่มาทั้งหมด 5 รูปแบบ เพื่อให้ลูกค้ามีตัวเลือกในการเลือกที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นตะกร้า กระเป๋าถือ กระเป๋าสะพาย อีกทั้งยังมีการห่อกันกระแทกและเลือกขนาดกล่องต่างๆ เพื่อจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้อย่างปลอดภัย รวมไปถึงมีการจัดทําป้ายโลโก้หนังเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้า และมีการ์ดขอบคุณลูกค้าเพื่อเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้มากขึ้น
ด้านการขายและการตลาด
พัฒนาด้านการขายและการตลาด ผ่านการจัดทําตราสินค้าและชื่อแบรนด์ “ชื่นชวา” เพื่อเพิ่มมูลค่า ให้แก่สินค้าและสร้าง Brand awareness โดยเบื้องต้นชุมชนมีการตลาดกับกลุ่มลูกค้าแบบ B2B (Business to Business) อยู่แล้วในโครงการนี้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ชุมชนต้องการเพิ่ม คือแบบ B2C (Business to Customers) โดยนอกจากจะโปรโมตผ่านช่องทางออนไลน์ที่มีอยู่แล้วอย่าง Facebook เนื่องจากกระแสนิยมในการสั่งของออนไลน์มากขึ้น อีกทั้งช่องทางออนไลน์ยังเป็นช่องทางที่สามารถสร้าง Brand story เพิ่มคุณค่า และความน่าสนใจ ทางนักศึกษาจึงได้จัดทําช่องทางออนไลน์เพิ่ม ได้แก่ Line official และ Instagram เพื่อสร้างโอกาสในการขายและให้ชุมชนต่อยอดการขายออนไลน์ได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น
ด้านการบัญชีและการเงิน
การบันทึกบัญชีของชุมชนบ้านชากมะหาด จากเดิมที่เอกสารบันทึกบัญชีของชุมชนพบข้อบกพร่อง การบันทึกรายละเอียดบางอย่างไม่ครบถ้วน อาจเกิดการสูญหายของข้อมูลบางอย่าง กลุ่มนักศึกษาจึงได้ออกแบบและจัดทําเอกสารการบันทึกบัญชีขึ้นมาใหม่ โดยปรับให้เข้ากับลักษณะการดําเนินงานชุมชนมากยิ่งขึ้น ไม่ซับซ้อนมากจนเกินไปเพื่อให้ชุมชนสามารถนําไปใช้ได้จริง นอกจากนั้นทางกลุ่มนักศึกษาได้มีการคิดต้นทุนและราคาขายของผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบใหม่ รวมถึงมีการคิดราคาโปรโมชั่นที่เหมาะสมให้ และจัดทําเป็นตารางสรุปส่วนลดและสรุปต้นทุนของกระเป๋าแต่ละรุ่นให้กับชุมชน เพื่อสะดวกต่อการใช้งานอีกทั้งมีการจัดทําต้นแบบงบกําไรขาดทุนประจําเดือนให้กับทางชุมชน
จากปัญหาเงินกองกลางขาดแคลนกลุ่มนักศึกษาได้นําเสนอเรื่องการขอทุนและการจัดหาเงิน กองกลางผ่านระบบหุ้น และมีการจัดทําเอกสารเพิ่มเติม ได้แก่ ทะเบียนสมาชิกชุมชน ทะเบียนหุ้น เพื่อเป็นการบันทึกข้อมูลสมาชิกและให้ชุมชนสามารถนําไปใช้ต่อได้ในอนาคตในการเก็บเงินและจ่ายเงินปันผลให้กับสมาชิก
ผลการดำเนินงาน
เดิมทางวิสาหกิจชุมชนผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากหอยแมลงภู่ โดยผลิตภัณฑ์ที่ทางกลุ่ม นักศึกษาเข้ามาร่วมพัฒนาคือ ข้าวเกรียบหอยแมลงภู่ ซึ่งปัญหาหลักๆที่ทางชุมชนต้องการแก้ไขคือเรื่องของอายุใน การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ เนื่องจากบรรจุภัณฑ์เดิมที่ทางชุมชนใช้เป็นซองพลาสติกใสไม่เหมาะกับกระบวนการบรรจุ แบบ Gas-Flushing ที่ใช้ก๊าซไนโตรเจน ทางกลุ่มนักศึกษาจึงได้เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์มาเป็นซองฟอยล์ทึบเพื่อ คง ความกรอบและลดปัญหาข้าวเกรียบมีกลิ่นเหม็นหืน นอกจากนั้นยังได้มีการสร้างแบรนด์ให้กับสินค้าภายใต้ชื่อ “Phufried หรือ ภู่ฟรายด์” อีกทั้งได้มีการเปลี่ยนแปลงฉลากสินค้า โลโก้ชุมชนให้มีความสวยงามทันสมัยน่าดึงดูด ตลอดจนเพิ่มช่องทางการขายทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์รวมถึงกิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมด้านการตลาด เพื่อให้สอดคล้องและสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ จากการดำเนินงานข้างต้น ทำให้ยอดขายของ ผลิตภัณฑ์เพิ่มมากขึ้น สร้างผลกำไรสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน
ปัญหาและอุปสรรค
ด้านผลิตภัณฑ์ รสชาติของข้าวเกรียบไม่มีความหลากหลาย รวมถึงปัญหาเรื่องระยะเวลาในการเก็บรักษา ของบรรจุภัณฑ์ อีกทั้งฉลากสินค้ามีข้อมูลไม่ครบถ้วนไม่สวยงามและไม่น่าดึงดูด มากไปกว่านั้นฉลากเดิมก็ไม่ได้สื่อ ถึงผลิตภัณฑ์ข้างอย่างชัดเจนในทำให้ลูกค้าไม่ทราบว่าข้าวเกรียบนี้ทำมาจากอะไร
ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ทางชุมชนไม่ได้มีการศึกษาตลาดและกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนตั้งแต่ แรกทำให้ช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ยังไม่มีความหลากหลาย โดยส่วนมากลูกค้าจะสั่งซื้อ ผ่านช่องทางทางโทรศัพท์ ทำให้ทางชุมชนอาจจะเสียโอกาสได้ในกรณีที่ไม่ได้รับสายของลูกค้าเนื่องจากเป็นเพียง เบอร์มือถือส่วนตัวของพี่ท่านหนึ่งในชุมชน อีกทั้งทางช่องทางออนไลน์ ชื่อเพจ Facebook ก็ไม่ได้สื่อถึงภาพรวม ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของชุมชน ทำให้ลูกค้าไม่อาจทราบถึงผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ซึ่งก็คือข้าวเกรียบหอยแมลงภู่
ด้านส่งเสริมการตลาด ไม่มีกิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมด้านการตลาดในการเพิ่มความน่าสนใจและดึงดูด ลูกค้า เช่น เนื้อหาต่างๆในเพจ Facebook โฟกัสไปที่การขายสินค้าจนเกินไปไม่ได้มีการสอดแทรกเนื้อหาที่สื่อถึง เรื่องราวของชุมชนหรือผลิตภัณฑ์มากนัก รวมถึงการเข้าถึงของลูกค้าต่ำสังเกตได้จากยอดไลค์ยอดแชร์ของโพสที่มี จำนวนค่อนข้างน้อย
ด้านบัญชี การคำนวณต้นทุนของผลิตภัณฑ์ไม่ครบถ้วน นำไปสู่การตั้งราคาที่ต่ำเกินไปทำให้อัตรากำไร ส่วนเกินค่อนข้างต่ำส่งผลให้สินค้านั้นขาดความสามารถในการทำกำไรได้อย่างคุ้มค่า รวมถึงเอกสารทางบัญชีอื่นๆ ที่ยังไม่ครบถ้วนในการประกอบธุรกิจทำให้การควบคุมไม่มีประสิทธิภาพ
แนวทางการแก้ไขปัญหา
ด้านผลิตภัณฑ์ ทางกลุ่มนักศึกษาได้ทำการสร้างแบรนด์ใหม่ ภายใต้ชื่อ “Phufried หรือ ภู่ฟรายด์” โดย โลโก้ของแบรนด์นั้นเกิดจากการประกอบกันระหว่างคำว่า “ภู่” โดยตั้งใจจะสื่อถึงวัตถุดิบที่ทำมาจากหอยแมลงภู่ และคำว่า “ฟรายด์” ที่มาจากเฟรนฟรายด์ซึ่งมีรูปทรงและผ่านกระบวนการทอดเช่นเดียวกัน รวมถึงได้ออกแบบ การทดสอบในรูปแบบ blind test เพื่อคัดเลือกรสชาติโดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดไว้ จนสรุปผล ออกมาเป็น 4 รสชาติคือข้าวเกรียบรสลาบ รสบาบีคิว ซอสมะเขือเทศและซอสพริก ในส่วนของบรรจุภัณฑ์จากเดิม ที่ทางชุมชนใช้เป็นซองพลาสติกใสเปลี่ยนมาเป็นซองฟอยล์ทึบเพื่อยืดระยะเวลาในการเก็บรักษาของข้าวเกรียบ อีก ทั้งยังได้มีการเปลี่ยนฉลากบรรจุภัณฑ์ให้มีความสวยงามน่าดึงดูด แสดงข้อมูลสำคัญไม่ว่าจะเป็นเปอร์เซ็น ส่วนประกอบและหมายเลข อย. นอกจากนี้ทางกลุ่มยังได้ทำการปรับเปลี่ยนโลโก้ชุมชน “ภูมิชาวเล” ให้มีความ ทันสมัยสอดคล้องกับบรรจุภัณฑ์และฉลากสินค้าโดยยังคงเอกลักษณ์ของตราชุมชนซึ่งก็คือเรือประมงไว้ด้วย
ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ทางกลุ่มได้มีการเปลี่ยนรูปหน้าปกของเพจเพื่อให้ลูกค้าทราบถึงสินค้า ทั้งหมดของทางชุมชน รวมถึงได้ทำการเปลี่ยนชื่อเพจเฟสบุ๊คจากเดิมที่ใช้ชื่อว่า Mrs.Hoi เปลี่ยนมาเป็น “ภูมิชาวเล ผลิตภัณฑ์แปรรูปหอยแมลงภู่ จากระยอง” ตลอดจนเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายทางออนไลน์และออฟไลน์ไม่ว่า จะเป็น Facebook Fanpage, Shopee, ร้านขายของฝาก, สถานบันเทิง เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ได้มีการกำหนดไว้ คือ กลุ่มนักท่องเที่ยววัยทำงาน หรือคน Gen X และ Gen Y ที่ชื่นชอบสินค้าที่มีความแปลกใหม่
ด้านส่งเสริมการตลาด สำหรับกลยุทธ์การตั้งราคาคือตั้งราคาให้ลงท้ายด้วยเลข 9 เพื่อให้ผู้บริโภครู้สึกว่า สินค้ามีราคาไม่สูงมากนัก และได้จัดทำโปรโมชั่นผ่านการเปิดพรีออเดอร์ในเพจเฟสบุ๊คโดยมีข้อเสนอคือ ซื้อ 3 ซอง ในราคาเพียง 150.- บาทและสามารถเลือกแบบคละรสชาติกันได้เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าสั่งซื้อในปริมาณมากขึ้นและยัง ตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการชิมหลายๆรสชาติ มากไปกว่านั้นประโยชน์ของการทำโปรโมชั่นก็เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้านั้น ซื้อในปริมาณที่มากขึ้นเนื่องจากค่าขนส่งมีราคาเทียบเท่ากับสินค้าหากลูกค้าสั่งซื้อเพียงห่อเดียว อาจจะทำให้รู้สึก ไม่คุ้มค่า ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อได้ ในส่วนของการสร้างกิจกรรมลงเนื้อหาต่างๆในเพจเฟสบุ๊คก็ได้มีการฝากขาย ตามกลุ่มรับฝากขายสินค้า สร้างโพสต์ให้เพจมีความเคลื่อนไหวสอดแทรกเนื้อหาที่มีประโยชน์สะท้อนถึงเรื่องราว ของชุมชนว่ามีที่มาที่ไปอย่างไรเพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับสินค้ามากขึ้น รวมถึงการทำโฆษณาผ่านการยิง Ads โดยใช้เครื่องมือทางการตลาดของเฟสบุ๊คเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจนละเอียดมากขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างแบรนด์ “ภูมิชาวเล” ให้เป็นที่รู้จักในตลาดทั้งในจังหวัดระยองหรือจังหวัดอื่นๆมากยิ่งขึ้น
ด้านบัญชี ได้มีการหารือกับทางชุมชนสำหรับการคำนวณต้นทุนใหม่เพื่อปรับราคาขายให้มีอัตรากำไร ส่วนเกินอยู่ในระดับที่เหมาะสม และยังได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการวางระบบบัญชีอย่างง่ายโดยจัดทำแบบฟอร์ม เอกสารต่างๆที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจ การควบคุมต่างๆ เช่น จัดทำรายงานสินค้าคงเหลือ บัญชีเงินสด บันทึกรายได้ ทะเบียนคุมวัตถุดิบ เป็นต้น
วิสาหกิจชุมชนชากลูกหญ้าพัฒนาเป็นวิสาหกิจชุมชนที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเบเกอรี่ เกิดจากการรวมกลุ่มของสมาชิกชุมชน ในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง มีวัตถุประสงค์คือต้องการสร้างรายได้เสริมให้กับคนในชุมชน ซึ่งมีคุณเพชรรัตน์ คำตรง เป็นผู้ดำเนินการหลัก โดยทางชุมชนมีผลิตภัณฑ์หลัก คือเค้กกล้วยหอม บราวนี่ เค้กฝอยทอง เค้กครีมสด โดยหลังจากที่กลุ่มนักศึกษาลงพื้นที่สำรวจ มีการพูดคุยสอบถามถึงปัญหาและความต้องการของชุมชน ทางกลุ่มพบว่ากลุ่มวิสาหกิจชุมชน มีปัญหาและความต้องการอยู่ 4 ด้าน ดังนี้
1. ด้านการตลาด ทางชุมชนจำ หน่ายสินค้าในบริเวณใกล้เคียงชุมชนเป็นหลักและยังไม่มีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน โดยทางชุมชนมีความต้องการที่จะขายผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางออนไลน์รวมถึงการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการขาย
2. ด้านผลิตภัณฑ์ ทางชุมชนยังขาดวัตถุดิบที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ยังไม่มีจุดเด่นที่แตกต่างจากคู่แข่งอย่างชัดเจน นอกจากนี้วัตถุดิบที่ใช้อาจยังไม่เหมาะสมสำ หรับการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ โดยทางชุมชนมีความต้องการที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อเพิ่มคุณค่าพร้อมทั้งขยายฐานลูกค้าให้แก่แบรนด์
3. ด้านฉลากและบรรจุภัณฑ์ เดิมทียังไม่มีโลโก้ของทางชุมชน เนื่องจากการจัดจำหน่ายเดิมนั้นผ่านทางร้านส่วนตัวของผู้นำชุมชน ภายใต้แบรนด์ Kanomkuk ซึ่งไม่มีส่วนใดที่สื่อถึงวิสาหกิจชุมชนนอกจากนี้รูปแบบบรรจุภัณฑ์เดิมยังขาดความเป็นเอกลักษณ์ ที่จะสามารถสร้างความโดดเด่นต่างจากคู่แข่งทางการค้า โดยเป็นการบรรจุขนมไว้ภายในกล่องพลาสติกใส ซึ่งทำให้บรรจุภัณฑ์ไม่คงทนต่อการส่งสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์อีกด้วย
4. ด้านการบัญชี ระบบบันทึกบัญชีเดิมของชุมชนมีเพียงการบันทึกราคาขายหักด้วยราคาทุน ซึ่งยังไม่ครอบคลุมต้นทุนทั้งหมดของการขาย ส่งผลให้การคำนวณต้นทุนของผลิตภัณฑ์ไม่ถูกต้องและไม่สามารถทราบได้ถึงกำไรที่แท้จริง นอกจากนี้ยังขาดการเก็บข้อมูลของลูกค้า สำหรับการนำไปวิเคราะห์ใช้เพื่อการวางแผนการขายอย่างเหมาะสมในอนาคต
จากปัญหาและความต้องการดังกล่าว กลุ่มนักศึกษาได้เข้าไปพัฒนาในด้านต่าง ๆ เป็นระยะเวลา 4 เดือน เพื่อแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของชุมชน โดยโครงการที่กลุ่มนักศึกษาได้ร่วมทำกับชุมชนชากลูกหญ้าพัฒนาได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้คือ การเปิดขายผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยทางกลุ่มนักศึกษาได้มีการเปิดช่องทางออนไลน์ไว้ 3 ช่องทางด้วยกัน คือ Facebook, Line Official และ Instagram โดยมียอดผู้ติดตามในช่องทาง Facebook จำนวน 412 คน และใน Instagram มีจำนวนผู้ติดตามทั้งหมด 596 คน
นอกจากนี้ได้ทำ การเพิ่มยอดขายให้กับทางชุมชนมากขึ้นโดยผลิตภัณฑ์คุกกี้นิ่ม (Soft Cookie) สามารถขายผลิตภัณฑ์ได้ 44 ชิ้นในเดือนพฤษภาคม ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จในขั้นกลางที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ โดยยังสามารถเพิ่มคุณค่าของผลิตภัณฑ์ได้เพิ่มมากขึ้น มีการค้นคว้าและพัฒนาสูตรขนมต่าง ๆ ได้แก่ เค้กกระป๋อง (Canned Cake) และคุกกี้นิ่ม (Soft Cookie) การสร้างแบรนด์ขนมเพื่อสื่อถึงชุมชนในชื่อ Little Grass
และยังมีการออกแบบโลโก้ ฉลากผลิตภัณฑ์ และแนวคิดเรื่องสีของแบรนด์ เพื่อทำให้ลูกค้าสามารถจดจำ แบรนด์ของเราได้ อีกทั้งยังทำให้ชุมชนสามารถคิดต้นทุนและกำไรของขนมแต่ละชนิดได้ด้วยตนเอง โดยทางกลุ่มนักศึกษามีการทำ ระบบบัญชีทำให้ชุมชนสามารถทราบรายได้ ต้นทุนและกำไร และบันทึกได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้เพื่อทำให้วิสาหกิจชุมชนชากลูกหญ้าพัฒนา สามารถประกอบธุรกิจได้ด้วยตนเองและเติบโตได้อย่างยั่งยืน
วิสาหกิจชุมชนสวนเกษตรผสมผสาน ฐานเรียนรู้สวนคุณย่า เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มีความตั้งใจที่จะเป็นฐานการเรียนรู้ทางการเกษตร และมีพืชผลทางการเกษตรที่มีความหลากหลายอย่างมาก ได้แก่ไผ่บงหวาน มัลเบอร์รี มะนาว มันหวาน กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม และพืชผักสวนครัวอื่นๆ ซึ่งสินค้าที่วิสาหกิจชุมชนขายอยู่เป็นสินค้าที่มาจากพืชผลของวิสาหกิจชุมชนเอง อาจมีการแปรรูปบ้างในพืชผลบางประเภท เช่น น้ำมัลเบอร์รี ชาใบหม่อน น้ำมะนาวสด กล้วยน้ำ ว้าอบน้ำ ผึ้ง เป็นต้น
ด้วยความหลากหลายนี้ทำให้วิสาหกิจชุมชนยังไม่ทราบถึงจุดเด่นและอัตลักษณ์ของตัวเอง และรวมไปถึงการขาดทรัพยากรต่าง ๆ เช่น แรงงาน ความรู้ด้านกระบวนการผลิต ความรู้ด้านการตลาดและความรู้ด้านการบัญชี ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้แนวทางการพัฒนาของวิสาหกิจชุมชนยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือทั้งในด้านการวางแผนงานและองค์ความรู้เพื่อให้สามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างมีความชัดเจน และยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
ทางนักศึกษาได้เข้าไปช่วยวิสาหกิจชุมชนในสาระสำคัญทั้งในระยะสั้น (ภายในระยะเวลาโครงการ) และในระยะยาว (แนวทางที่ชุมชนสามารถดำเนินการต่อได้เองอย่างยั่งยืน) ในส่วนของการช่วยเหลือในระยะสั้น (ภายในระยะเวลาโครงการ) ทางกลุ่มนักศึกษาได้เข้าปรึกษาหารือกับวิสาหกิจชุมชนในการหาจุดเด่น และสร้างอัตลักษณ์ของตัวเองขึ้นมา ซึ่งพืชผลที่มีศักยภาพที่จะเป็นจุดเด่นของวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ ไผ่บงหวาน มัลเบอร์รี และชาใบหม่อน และได้ช่วยออกแบบแบรนด์ให้กับวิสาหกิจชุมชนในชื่อแบรนด์ “ชีวนา (Shewana)” เพื่อใช้เป็นอัตลักษณ์และสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น นอกจากนี้ทางกลุ่มนักศึกษายังได้ให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมในอีก 3 ด้าน ได้แก่ การพัฒนากระบวนผลิตขั้นต้นและบรรจุภัณฑ์ของสินค้า การตลาด และการบัญชี
1. ด้านการพัฒนากระบวนผลิตขั้นต้นและบรรจุภัณฑ์ของสินค้า เนื่องจากกำลังการผลิตของวิสาหกิจชุมชน ณ ช่วงเวลาของโครงการยังมีกำลังการผลิตที่ไม่เพียงพอต่อการแปรรูปผลผลิตหากวิสาหกิจชุมชนแปรรูปในช่วงเวลาของโครงการ อาจทำให้วิสาหกิจชุมชนขาดทุนได้ ดังนั้นเพื่อการเพิ่มมูลค่าของสินค้า ทางกลุ่มนักศึกษาจึงได้วางแผนที่จะพัฒนากระบวนการผลิตของสินค้าเดิมให้มีมาตรฐานการผลิตมากยิ่งขึ้น และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ถูกสุขลักษณะและมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นด้วย ซึ่งสินค้าที่ทางกลุ่มนักศึกษาเข้าไปพัฒนาแล้ว ได้แก่ น้ำมัลเบอร์รี ชาใบหม่อนผลมัลเบอร์รีสด ไผ่บงหวาน
2. ด้านการตลาด ทางกลุ่มนักศึกษาได้ช่วยออกแบบโลโก้ให้มีความเข้าถึงได้อบอุ่นและเป็นธรรมชาติสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของแบรนด์ และช่วยเพิ่มชื่อทางการขายทางออนไลน์ผ่านทางสื่อออนไลน์ ได้แก่ Instagram, Facebook, Line My shop เพื่อช่วยเพิ่มยอดขายและขยายกลุ่มลูกค้าให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น
3. ด้านการบัญชี เนื่องจากวิสาหกิจชุมชนยังขาดความรู้ความเข้าใจทางบัญชี ส่งผลให้มีการเก็บข้อมูลค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการผลิตผลิตภัณฑ์ไม่ครบถ้วน และไม่มีการนำค่าใช้จ่ายเหล่านั้นมาใช้การคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ทำให้ไม่ทราบมูลค่าต้นทุนที่แท้จริง อีกทั้งยังมีการตั้งราคาขายตามความพึงพอใจไม่ได้คำนึงถึงต้นทุนผลิตภัณฑ์ ทางกลุ่มนักศึกษาจึงได้เก็บข้อมูล ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับด้านบัญชี ช่วยวิสาหกิจชุมชนในการคำ นวณต้นทุนสินค้า และจัดทำระบบเก็บข้อมูลรายรับรายจ่ายโดยใช้โปรแกรม Excel อย่างง่ายเพื่อความสะดวกในการบันทึกให้กับชุมชน
ในส่วนของการช่วยเหลือในระยะยาว (ชุมชนสามารถดำเนินการต่อได้เองอย่างยั่งยืน) ทางกลุ่มนักศึกษาได้หารือร่วมกับบริษัท สามร้อยยอด จำกัด ในการถ่ายทอดองค์ความรู้และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อาหาร เช่นการแปรรูปผลไม้ การถนอมอาหารในรูปแบบต่าง ๆ อุปกรณ์การผลิต การวางมาตรฐานขั้นตอนการผลิต และการรักษาความสะอาดให้ถูกสุขลักษณะ ซึ่งทางกลุ่มนักศึกษาจึงได้จัดทำคู่มือเพื่อความยั่งยืนของชุมชนเพื่อให้ชุมชนสามารถดำเนินการและพัฒนาต่อได้ในระยะยาว และหากชุมชนมีความพร้อมสำหรับการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรที่มากขึ้นแล้วโดยเฉพาะมัลเบอร์รีทางกลุ่มนักศึกษาก็ได้จัดทำคู่มือและสูตรสำหรับการแปรรูปมัลเบอร์รีไว้ให้กับชุมชนเพื่อการพิจารณาสำหรับการแปรรูปในอนาคต ซึ่งได้จัดไว้หลากหลายผลิตภัณฑ์ประกอบไปด้วย มัลเบอร์รีอบแห้ง แยมมัลเบอร์รี เยลลี่มัลเบอร์รี ซึ่งเป็นแนวทางที่สามารถใช้ผลมัลเบอร์รีผลิตได้อย่างเต็มประสิทธิผล และเป็นสูตรได้รับมาจากบริษัท สามร้อยยอด จำกัด ซึ่งเป็นสูตรที่ผ่านการทดลอง สามารถขายได้จริง มีมาตรฐานและมีคุณภาพ
จากการร่วมมือกันของหลายภาคส่วนในช่วงตลอด 5 เดือนของระยะเวลาโครงการ นอกจากวิสาหกิจชุมชนและแบรนด์ชีวนาจะได้รับองค์ความรู้และการช่วยเหลือต่าง ๆ จากนักศึกษาแล้ว โครงการนี้ยังสามารถสร้างยอดขาย และเพิ่มกำไรขั้นต้นให้กับชุมชนได้มากกว่าร้อยละ 150 และมีการเข้าถึงมากกว่า14,000 ครั้งในช่องทางออนไลน์ ซึ่งสอดคล้องตามเป้าหมายกับที่นักศึกษาได้วางแผนไว้ ทางกลุ่มเชื่อมั่นอย่างมากว่าผลจากการช่วยเหลือ หารือ และร่วมกันพัฒนาในครั้งนี้ จะทำ ให้วิสาหกิจชุมชนสวนเกษตรผสมผสาน ฐานเรียนรู้สวนคุณย่าสามารถดำ เนินการต่อไปได้อย่างมีแนวทางที่ชัดเจนและยั่งยืนได้ต่อไปในอนาคต
ผลการดำเนินงาน
ทางกลุ่มได้ทำการรีแบรนด์ (Rebranding) โดยออกแบบโลโก้และฉลากใหม่ และใช้ชื่อแบรนด์สำหรับ ผลิตภัณฑ์เนื้อสำรองพร้อมทานว่า “อิ่มดี” ซึ่งเป็นชื่อที่เรียบง่าย ความหมายสอดคล้องกับผลิตภัณฑ์เนื้อสำรอง พร้อมทานที่มีส่วนช่วยในเรื่องการดูดซับไขมันและทำให้อิ่มท้องเมื่อรับประทาน นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุง ด้านกระบวนการผลิตดั้งเดิมต่าง ๆ ให้เสถียรมากยิ่งขึ้น กำหนดอุณหภูมิที่เหมาะสมในแต่ละขั้นตอนการผลิต มี การเพิ่มขั้นตอนการพาสเจอไรซ์ (Pasteurization) โดยการน็อคน้ำแข็ง ซึ่งเป็นขั้นตอนของการฆ่าเชื้อ แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุหลักของปัญหากลิ่นและรสชาติที่เปลี่ยนแปลงไปของผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังได้มีการนำ ผลิตภัณฑ์เนื้อสำรองพร้อมทานไปตรวจสารอาหารที่สถาบันอาหาร ทำให้ทางวิสาหกิจชุมชนสามารถนำผลการ ตรวจนี้มาสร้างความโดดเด่นและความน่าเชื่อถือให้แก่ตัวผลิตภัณฑ์ได้ มีการจัดทำคู่มือการผลิตโดยละเอียด เพื่อให้สินค้าที่ผลิตออกมาได้มาตรฐานสม่ำเสมอ และเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการขอ อย.
ด้านบัญชี ทางกลุ่มได้ให้ความรู้ และคำแนะนำเกี่ยวกับระบบบัญชีต้นทุนให้กับทางวิสาหกิจชุมชน เพื่อให้เข้าใจการคำนวณต้นทุนเบื้องต้น ช่วยออกแบบระบบบัญชีในการคำนวณต้นทุนการผลิต เพื่อให้ทาง วิสาหกิจชุมชนสามารถกำหนดราคาจำหน่ายได้อย่างเหมาะสม ออกแบบและสร้าง Excel Solution สำหรับ การบันทึกข้อมูลทางบัญชีที่ครอบคลุมในการดำเนินธุรกิจตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการขาย รวมถึงระบบบริหาร จัดการหลังบ้านให้กับทางชุมชน
ด้านการตลาด มีการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายทางทวิตเตอร์เพื่อขยายฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ ดำเนินการ จัดทำคู่มือที่มีเนื้อหาประกอบไปด้วย 3 แพลตฟอร์ม ได้แก่ เฟซบุ๊ก (Facebook) ทวิตเตอร์ (Twitter) และ อินสตาแกรม (Instagram) รายละเอียดจะกล่าวถึงไอเดียสำหรับคอนเทนต์ตลอดท้ังปีและรายละเอียดอื่น เช่น วันและเวลาที่เหมาะสมในการทำคอนเทนต์ คอนเทนต์ตามเทศกาลต่าง ๆ รวมถึงรายชื่อของอินฟลูเอนเซอร์ และตัวอย่างการทำคอนเทนต์ที่น่าสนใจ เพื่อทำให้กลุ่มลูกค้ารู้จักผลิตภัณฑ์เนื้อสำรองมากขึ้น
ปัญหาและอุปสรรค
1. ด้านการสื่อสาร
นักศึกษาและวิสาหกิจชุมชนมีการสื่อสารกันผ่านการแชทด้วยข้อความทางไลน์เป็นหลัก จึงทำให้เกิด ทั้งความเข้าใจผิดและความล่าช้าในการสื่อสารระหว่างกัน ส่งผลให้การดำเนินงานในด้านต่าง ๆ เช่น การออกแบบโลโก้ใหม่ หรือการออกแบบฉลากผลิตภัณฑ์ จำเป็นต้องมีการปรับแก้หลายครั้ง นอกจากนี้ เนื่องจาก ทางชุมชนมีการประกอบอาชีพทำร้านเสริมสวยร่วมด้วย และตัวนักศึกษาเองก็อยู่ในช่วงของการฝากงาน ทำให้ ในบางครั้งเวลาว่างของทั้งสองฝ่ายไม่ตรงกันและหาเวลาพูดคุยปรึกษาเพื่อสรุปหัวข้อต่าง ๆ ได้ยาก
2. ด้านการดำเนินงาน
– ด้านการผลิต : เนื่องจากวิสาหกิจชุมชนเคยได้รับการร้องเรียนจากลูกค้าถึงเรื่องกลิ่นและรสสัมผัส ที่เปลี่ยนไป และเนื่องจากในกระบวนการผลิตมีการใช้แรงงานคนเป็นหลัก ทางชุมชนจึงมีความ กังวลเกี่ยวกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงไปในการผลิตแต่ละรอบ
– ด้านบัญชี : ในอดีตการบันทึกข้อมูลทางบัญชีของทางวิสาหกิจชุมชนยังไม่ครอบคลุม การปันส่วน ต้นทุนยังไม่เป็นระบบเพียงพอ และไม่มีการคำนวณต้นทุนการผลิตที่ชัดเจน โดยข้อมูลบางส่วนมี การบันทึกไม่ครบ รวมถึงมีส่วนที่ไม่เคยบันทึกมาก่อน ทำให้ไม่สามารถรับรู้ต้นทุนที่ถูกต้องได้ ซึ่ง ส่งผลต่อการตั้งราคาและโปรโมชันต่าง ๆ
– ด้านการตลาด : ภาพลักษณ์ของแบรนด์ไม่ชัดเจนและไม่สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ ทำให้ขาดความ น่าดึงดูดจากลูกค้า รวมถึงช่องทางการขายมีเพียงการประชาสัมพันธ์ผ่านทาง Facebook Page เป็นหลักเพียงช่องทางเดียว ซึ่งอาจทำให้ยอดการเข้าถึงไม่มากพอ
3. ด้านเศรษฐกิจและสถานการณ์แวดล้อมจากสถานการณ์ Covid-19 และสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ประกอบกับการออกบู๊ทขายสินค้าแบบออฟไลน์ซึ่งทำได้อย่างจำกัดทำให้ยอดขายไม่สูงมาก ทำให้ผู้รับผิดชอบหลักในการจัดการด้านต่าง ๆ ของ วิสาหกิจชุมชนนั้นมีเพียงแค่รองประธานวิสาหกิจเพียงคนเดียว จึงทำให้เกิดความล่าช้าในการทำงานเนื่องจาก ไม่ได้มีการกระจายหน้าที่รับผิดชอบเท่าที่ควร
แนวทางการแก้ไขปัญหา
1. ด้านการสื่อสาร
ทางกลุ่มนักศึกษาได้ทำการเปลี่ยนร้านออกแบบ เพื่อให้ได้รูปแบบโลโก้และฉลากผลิตภัณฑ์ที่ตรงตาม ความต้องการของวิสาหกิจชุมชนมากยิ่งขึ้น และเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันจึงได้มีการพูดคุยระหว่างนักศึกษา และวิสาหกิจชุมชนทั้งในรูปแบบของการติดต่อสื่อสารผ่านออนไลน์ รวมถึงเดินทางไปพูดคุยกับทางชุมชนด้วย ตนเองที่จังหวัดระยอง มีการตกลงเพื่อนัดเวลาก่อนเริ่มประชุมเสมอเพื่อให้ทางชุมชนมีเวลาในการตัดสินใจ เรื่องต่าง ๆ และมีการสอบถาม ติดตาม รวมถึงรายงานผลความคืบหน้าอยู่ตลอด
2. ด้านการดำเนินงาน
– ด้านการผลิต : ทางกลุ่มได้มีการปรึกษาและขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์อาหาร จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพฯ หลังจากนั้นจึงได้ทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ (Laboratory) โดยนำลูกสำรองจากทางชุมชนไปทดลองกระบวนการผลิตใหม่ทั้งหมด เพื่อให้ได้ ขั้นตอนการผลิตเนื้อสำรองที่มีสัดส่วนของส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ได้มาตรฐาน และได้กระบวนการ ผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
– ด้านบัญชี : กลุ่มนักศึกษาได้ทำการพูดคุยกับทางชุมชนเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมในการนำไปปรับใช้ เป็นแนวทางการดำเนินงาน มีการสอนระบบบัญชีต้นทุนให้กับทางวิสาหกิจชุมชนเพื่อให้เข้าใจถึงการคำนวณต้นทุนเบื้องต้นและการปันส่วนต้นทุน และจัดระเบียบรวมถึงสร้างวิธีการเก็บข้อมูลทางบัญชีต่าง ๆ ให้เป็นระบบยิ่งขึ้น โดยจัดทำ Excel Solution สำหรับการบันทึกข้อมูลทางบัญชีที่ครอบคลุมทุกขั้นตอน
– ด้านการตลาด : มีการออกแบบบุคลิกภาพของแบรนด์ (Brand Personality) ให้กับทางวิสาหกิจชุมชน ให้สอดคล้องกับรูปแบบผลิตภัณฑ์เนื้อสำรองพร้อมทาน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ จากนั้นจึงดำเนินการจัดทำคู่มือการตลาดของช่องทางการจำหน่ายแต่ละแพลตฟอร์ม
3. ด้านเศรษฐกิจและสถานการณ์แวดล้อม
ทางกลุ่มได้มีการโปรโมทผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ และกระจายต่อในกลุ่ม Line Square หรือ OpenChat ที่มีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาเพื่อเพิ่มยอดขายให้กับชุมชน
Date: 20 มิถุนายน 2565