ประวัติความเป็นมา
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประวัติความเป็นมา
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยกฐานะจาก “แผนกวิชาการบัญชี” เป็น “คณะพาณิชยศาสตร์และ การบัญชี” เพิ่มแผนกพาณิชยศาสตร์ หลักสูตรการศึกษา4 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วได้รับปริญญาตรีทางพาณิชยศาสตร์
ยกเลิกการศึกษาแบบประกาศนียบัตรและจัดหลักสูตรการศึกษาใหม่เป็นแบบปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี ท้ังแผนกการบัญชีและ พาณิชยศาสตร์ เปิดสอนระดับปริญญาโทภาคกลางวัน
แผนกพาณิชยศาสตร์ในระดับปริญญาตรีได้แบ่งออกเป็น 3 สาขาวิชา ประกอบด้วย สาขาการบริหารการเงินและการธนาคาร สาขาการตลาด และสาขาการบริหารทั่วไป
เปลี่ยนแปลงหลักสูตรระดับปริญญาตรีเป็นระบบหน่วยกิต เพื่อให้เป็น ไปตามหลักสากล
ปรับปรุงโครงการปริญญาโทเป็นภาคค่ำเปิดสอน 2 หลักสูตร คือ ปริญญาโททางบริหารธุรกิจ (MBA) และปริญญาโททางการบัญชี (Ms in Accounting)
พัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรีของคณะฯ โดยแบ่งสาขาวิชาเอก เป็น 5 สาขาวิชา แผนกบัญชีมี 1 สาขาวิชา คือ สาขาการบัญชี แผนก พาณิชยศาสตร์ มี 4 สาขาวิชา คือ สาขาการเงิน สาขาการตลาด สาขาการบริหารบุคคล สาขาเทคนิคการบริหาร
เปิดหลักสูตรโครงการประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการสอบบัญชี
เปลี่ยนชื่อสาขาเทคนิคการบริหารเป็นสาขาบริหารอุตสาหการ
เปิดสาขาการพณิชยนาวีเพิ่มอีก 1 สาขาวิชาในแผนกพาณิชยศาสตร์ และหลักสูตรโครงการการตลาดภาคภาษาอังกฤษ (Master’s in Marketing English Language Certificate Programme; MIM) ซ่ึงเป็นหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต
เปิดหลักสูตรโครงการปริญญาโทสำหรับผู้บริหาร
ปรับปรุงโครงการการตลาดภาคภาษาอังกฤษโดยเป็นหลักสูตรระดับปริญญาโททางการตลาด ซึ่งเป็นปริญญาโททางการตลาดแห่งแรก และแห่งเดียวของประเทศไทยในขณะนั้น
ปรับปรุงหลักสูตร เป็นหลักสูตรบัญชีบัณฑิตและบริหารธุรกิจบัณฑิต เปลี่ยนชื่อปริญญาด้านพาณิชยศาสตร์บัณฑิต (พณ.บ) เป็นบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)และเปิดสาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เพิ่มอีก 1 สาขาวิชาเปลี่ยนแปลงวิธีการสอบคัดเลือกนักศึกษาเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี จากเดิมซึ่งเป็นการสอบคัดเลือกรวม เป็นแยกรับเข้าตามสายสอบโดยแบ่งออกเป็น 2 สาย คือ สายบัญชี และสายบริหารธุรกิจ
จัดตั้งโครงการปริญญาตรีบริหารธุรกิจ (หลักสตูรนานาชาติ) จัดตั้งโครงการร่วมผลิตบัณฑิตระดับปริญญาเอก สาขาบริหารธุรกิจ (The Joint Doctoral Program in Business Administration) โดยการลงนามความร่วมมือและประสานงานระหว่างสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และดุษฎีบัณฑิตคนแรกของโครงการได้สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2539
เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการประเมินราคา ทรัพย์สินโครงการนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างกรมที่ดิน และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยได้รับการสนบั สนนุ จากธนาคารโลกและรัฐ บาลออสเตรเลีย ต่อมา ได้บรรจุหลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต และหลักสูตรปริญญาโททางด้านการประเมินราคาทรัพย์สิน ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 โดยเริ่มเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต ทางการประเมินราคาทรัพย์สิน เมื่อปีการศึกษา 2539
ปรับปรุงหลักสูตร มีการปรับชื่อสาขาวิชา 2 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาการเงินและการธนาคารปรับเป็นสาขาวิชาการเงิน สาขาวิชาบริหารอุตสาหการปรับเป็นสาขาวิชาบริหารอุตสาหการและปฏิบัติการ ยกระดับ 4 สาขาวิชา เป็น ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาการ บัญชี ภาควิชาการเงินและการธนาคาร ภาควิชาการตลาด และภาควิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
เปิดสอนปริญญาโททางวิชาชีพการบัญชี และปริญญาเอกทางการ ตลาดภาคภาษาอังกฤษ
เปิดสาขาวิชาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในระดับปริญญาตรี เปิดศูนย์ธรรมศาสตร์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และศูนย์บริหารธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม
เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาโทธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
เปิดโครงการปริญญาโททางบริหารธุรกิจ เน้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์การ
ปรับปรุงหลักสูตรโครงการปริญญาโททางการบัญชี โครงการ ปริญญาโททางวิชาชีพการบัญชี หลักสูตรนานาชาติ และโครงการ ปริญญาโททางการบัญชี สำหรับอาจารย์ผู้สอนวิชาบัญชีระดับ อุดมศึกษา โดยปรับปรุงเป็นโครงการใหม่ช่ือว่า “โครงการปริญญา โททางการบัญชี” จัดการเรียนการสอนเป็น 2 ภาษา (Bilingual) และ เปิดโครงการปริญญาโทบริหารธุรกิจ (สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ) หลักสูตรนานาชาติ
จัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat Business Competitiveness and Consulting Center) และศูนย์ทดสอบทักษะด้านการจัดการ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Scholarly Management Aptitude Requirement Test Center at Thammasat : SMART Center @ Thammasat)
เปิดหลักสูตรควบบัญชีบัณฑิตและมหาบัณฑิต (บูรณาการ) และหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการแบบบูรณาการ) และวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต โดยจัดการเรียนการสอนชั้น ปีที่ 1-5 ที่ท่าพระจันทร์
ปรับปรุงหลักสูตรในระดับปริญญาตรี ให้นักศึกษาสามารถเลือกจบ ด้วยวิชาเอกเดี่ยว (One major) หรือวิชาเอกเด่ียวบวกวิชาโท (One major plus one minor) หรือ วิชาเอกคู่ (Double major) ทั้งนี้ ไม่ว่านักศึกษาจะเลือกทางเลือกใดก็สามารถสำเร็จ การศึกษาได้ภายใน ระยะเวลา 4 ปี การศึกษานับเป็นหลักสูตรแรกในประเทศไทยที่เปิดโอกาสเส้นทางการศึกษาได้หลากหลาย
คณะฯ เป็นสถาบันการศึกษาด้านบริหารธุรกิจแห่งแรกในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาระดับโลก EQUIS (European Quality Improvement System) ซึ่งเป็นมาตรฐานคุณภาพทางการ ศึกษาด้านบริหารธุรกิจสูงสุดของ EFMD (European Foundation for Management Development) ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
คณะฯ ปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรีทุกหลักสูตรเพื่อให้มีความทันสมัยมีความเป็นมาตรฐานโดยจัดทำในรูปแบบ มคอ.02 ประกอบ ด้วยหลักสูตรบัญชีบัณฑิต หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตทั้งหลักสูตร ภาษาไทยและหลักสูตรภาษาอังกฤษ หลักสูตรควบบัญชีบัณฑิต (การบัญชีธุรกิจแบบบูรณาการ) หลักสูตรควบบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการธุรกิจแบบบูรณาการ)
คณะฯ ได้รับเลือกจากสถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาทางด้าน ธุรกิจ (Association to Advance Collegiate Schools of Business) ให้เป็นหนึ่งในคณะบริหารธุรกิจชั้นนำของโลก
เปิดหลักสูตรโครงการปริญญาโทบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจสากล หลักสูตรนานาชาติ (GEMBA)
คณะฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาระดับโลกจาก 3 สถาบันหลักด้านการบริหารธุรกิจของโลก AMBA (Association of MBAs) องค์กรรับรองคุณภาพระดับสากล จากสหราชอาณาจักร AACSB (Association to Advance Collegiate Schools of Business) จากสหรัฐอเมริกา EQUIS (EFMD Quality Improvement System) จาก สหภาพยุโรป ทําให้คณะฯ เป็นสถาบันการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ ท่ีบรรลุสถานะ 3 มงกุฎ (Triple Crown) แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย
คณะฯ ได้รับการตรวจประเมินคุณภาพ (Re–Accreditation) จาก EQUIS และได้รับการรับรองคุณภาพอย่างต่อเนื่องอีก 3 ปี ซึ่ง แสดงให้เห็นถึงคุณภาพการศึกษาของคณะฯ ที่มีอย่างต่อเนื่อง
ปรับปรุงหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาจำนวน 4 หลัก ดังนี้
1. หลักสูตรบัญชีบัณฑิต(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561)
2. หลักสูตรควบวิทยาศาสตร์มหาบบัณฑิตสาขากาบัญชีและการบริหารการเงิน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561)
3. หลักสูตรควบวิทยาศาสตร์มหาบบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการตลาด (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561)
4. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาบริหารธุรกิจ(หลักสูตรนานาชาติ) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561)
ปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี จํานวน 6 หลักสูตร ดังนี้
1. หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561)
2. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561)
3. หลักสูตรควบบัญชีบัณฑิตสาขาวิชาการบัญชีธุรกิจแบบบูรณาการ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561)
4. หลักสูตรควบบริหารธุรกิจบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการธุรกิจแบบบูรณาการ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561)
5. หลักบัญชีบัณฑิต(หลักสูตรนานาชาติ) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561)
6. หลักสูตรบริหารธุรกิจบบัณฑิต(หลักสูตรนานาชาติ) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561)
วันคล้ายวันสถาปนา คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครบปีที่ 86 กำหนดจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรพรรณ ยลระบิล รองคณบดีฝ่ายวิชาการและเครือข่ายพันธมิตร พร้อมด้วย คุณสิริวรรณ จันทร์แย้ม คุณเบญจพร