เกี่ยวกับเรา
สาขาวิชาบริหารการปฏิบัติการ
เกี่ยวกับเรา
สาขาวิชาบริหารการปฏิบัติการ
บริหารธุรกิจบัณฑิต
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต(สาขาวิชาบริหารการปฏิบัติการ)
ประวัติสาขาวิชา
ปี 2518 ได้มีการพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรีของคณะฯ ให้สอดคล้องกับการพัฒนาของคณะฯ ซึ่งมีการแบ่งสาขาวิชาเอกออกเป็น 5 สาขาวิชา ดังนี้
• แผนกบัญชี 1 สาขาวิชา คือ
– สาขาการบัญชี
• แผนกพาณิชยศาสตร์ 4 สาขาวิชา คือ
– สาขาการเงิน
– สาขาการตลาด
– สาขาการบริหารบุคคล
– สาขาเทคนิคการบริหาร
ปี 2523 ได้เปลี่ยนชื่อสาขาเทคนิคการบริหารเป็นสาขาบริหารอุตสาหการ
ปี 2533 คณะฯ ได้มีการปรับปรุงหลักสูตร พ.ศ. 2526 จาก “หลักสูตรการบัญชีบัณฑิตและพาณิชยศาสตร์” เป็นหลักสูตร พ.ศ. 2533 “หลักสูตรบัญชีบัณฑิตและบริหารธุรกิจบัณฑิต” และเปลี่ยนชื่อปริญญาด้านพาณิชยศาสตร์บัณฑิต (พณ.บ) เป็นบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) สำหรับปริญญาด้านการบัญชีเหมือนเดิม คือ บัญชีบัณฑิต (บช.บ.) โดยหลักสูตร พ.ศ. 2533 ได้แบ่งการศึกษาคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เป็น 6 สาขาวิชาเอก เช่นเดียวกับหลักสูตร พ.ศ. 2526 แต่ได้ปรับเปลี่ยนชื่อสาขาวิชา 2 สาขา เป็นดังนี้
• แผนกบัญชี
– สาขาการบัญชี
• แผนกบริหารธุรกิจ
– สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร
– สาขาวิชาการตลาด
– สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์และ องค์การ (เดิมชื่อสาขาวิชาการบริหารบุคคล)
– สาขาวิชาบริหารอุตสาหการ
– สาขาวิชาการบริหารการขนส่งระหว่างประเทศ (เดิมชื่อ ในปี 2540 คณะฯ ได้ปรับปรุงหลักสูตร (เดิมชื่อ ในปี 2540 คณะฯ ได้ปรับปรุงหลักสูตร
ฉบับ พ.ศ. 2533 เป็นหลักสูตร ฉบับ พ.ศ. 2540 ในหลักสูตร ยังคงกำหนดให้มี 7 สาขาวิชาเช่นเดียวกับหลักสูตร พ.ศ. 2533
แต่มีการปรับชื่อ 2 สาขาวิชาคือ
1. สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร ปรับเป็น สาขาวิชาการเงิน
2. สาขาวิชาบริหารอุตสาหการ ปรับเป็น สาขาวิชาบริหารอุตสาหการและปฏิบัติการ นอกนั้นทุกสาขาวิชายังคงใช้ชื่อเช่นเดียวกับหลักสูตร พ.ศ. 2533
วันที่ 17 เมษายน 2540 ทบวงมหาวิทยาลัยได้ประกาศเรื่องการแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2540 จัดตั้งภาควิชาในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จำนวน 4 ภาควิชา ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ประกาศเรื่องดังกล่าวข้างต้นในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 225 ตอนที่ 32 ง. วันที่ 22 เมษายน 2540 รวม 4 ภาควิชา ดังนี้
1. ภาควิชาการเงินและการธนาคาร
2. ภาควิชาการตลาด
3. ภาควิชาการบัญชี
4. ภาควิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
สำหรับอีก 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์การ สาขาวิชาบริหารอุตสาหการและปฏิบัติการ และสาขาวิชาการบริหารการขนส่งระหว่างประเทศที่จะขอจัดตั้งเป็นภาควิชานั้น คณะรัฐมนตรีในการประชุมปรึกษา เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2541 ลงมติเห็นชอบหลักการและมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐในปีงบประมาณ 2541 และ 2542 ให้ส่วนราชการระงับการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ หรือขยายหน่วยงานในกรม หรือภายในหน่วยงานเทียบเท่ากรมขึ้นไป ทั้งนี้หมายรวมถึงการขอจัดตั้งภาควิชาของคณะพาณิชย์ฯ ด้วย
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความเข้าใจกระบวนการดำเนินงานของธุรกิจ ทั้งระบบอุตสาหกรรมการผลิต ระบบการให้บริการ รวมทั้งงานบริหารสำนักงานทั่วไป โดยมีความสามารถในการวิเคราะห์ และตัดสินใจอย่างเป็นระบบ คำนึงถึงผลิตภาพ (Productivity) คุณภาพ (Quality) และสามารถประสานความสัมพันธ์เชิงรวมในการปฏิบัติงานเพื่อองค์กรได้ นักศึกษาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะ กระบวนการและเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมและกิจการบริการประเภทต่าง ๆ เทคนิควิธีการเชิงปริมาณสำหรับใช้วิเคราะห์ปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ การวางแผน ควบคุมการผลิต และปฏิบัติการในเชิงคุณภาพปริมาณ กำหนดเวลา และต้นทุนค่าใช้จ่าย นอกเหนือจากความรู้ นักศึกษาจะได้รับการฝึกฝนให้เป็นนักคิด นักวิเคราะห์ ปรับปรุง รู้จักทำงานด้วยหลักการและเป็นระบบ สร้างทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะการริเริ่ม ฯลฯ โดยการศึกษาวิจัย การทำโครงการและการปฏิบัติงานภาคสนาม
คุณสมบัติของนักศึกษาที่เข้าเรียน
นักศึกษาหลายคนไม่กล้าเลือกสาขาวิชาบริหารอุตสาหการเพื่อเรียนเป็นวิชาเอก เพราะทราบมาว่าต้องใช้คณิตศาสตร์มากและตนมีความถนัดด้านนี้น้อย ที่จริงแล้วการบริหารธุรกิจแผนใหม่ ต้องนำคณิตศาสตร์เข้ามาประกอบการตัดสินใจมากพอสมควร เนื่องจากคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือสำหรับศึกษาวิเคราะห์ปรากฏการณ์ และพฤติกรรมของธุรกิจตลอดจนการคาดคะเนผลกระทบของแผนธุรกิจอย่างมีหลักการและเป็นวิทยาศาสตร์ (Scientific) ทั้งนี้ไม่เฉพาะแต่ด้านบริหารปฏิบัติการเท่านั้น ด้านการเงิน การตลาด หรือธุรกิจระหว่างประเทศก็ต้องอาศัยคณิตศาสตร์พอๆ กัน อย่างไรก็ตามเราเรียนคณิตศาสตร์เพื่อประยุกต์ ไม่ใช่เรียนคณิตศาสตร์ในเชิงทฤษฏีเหมือนที่เคยเรียนในระดับมัธยม เนื้อหาที่เรียนก็ไม่ลอย เพราะเป็นการศึกษาที่มีรากฐานมาจากปัญหาธุรกิจจริงๆ ไม่เน้นการเรียนเพื่อพิสูจน์สูตรแต่เน้นให้เข้าใจหลักการและนำไปใช้งาน ไม่เน้นการคำนวณผลลัพธ์ซึ่งอาจใช้โปรแกรมสำเร็จรูปแทนได้ แต่เน้นให้รู้จักพิจารณาตีความหมายของผลลัพธ์นั้นและรู้ถึงผลที่ตามมา ถ้าข้อกำหนดของปัญหาเปลี่ยนไปอย่างไรก็ตาม ยังมีคุณสมบัติสองประการที่สำคัญยิ่งกว่าความถนัดทางคณิตศาสตร์ นักศึกษาควรจะมีหรือควรต้องพัฒนาให้เกิดขึ้นระหว่างที่ศึกษาเพื่อประกันความสำเร็จของการทำงานในอนาคต ได้แก่
– ทัศนคติเกี่ยวกับคุณภาพ ผลผลิต ความตรงเวลา และต้นทุน
– ความสามารถในการคิดเชิงระบบ
ผู้ที่จะเรียน IM ได้ดีและประสบความสำเร็จในการทำงานจำเป็นต้องมีจิตสำนึก (care) หรือซึมซาบในความหมายของ คุณภาพผลผลิต เวลา และต้นทุน เพราะสิ่งเหล่านี้ คือเป้าหมายของการบริหารการผลิต จิตสำนึกนี้อาจมีได้แม้จะยังไม่ได้เรียน IM มาก่อนเลยก็ตาม เช่น เมื่อซื้อสินค้ามาใช้ก็อาจถามตัวเองว่าทำไมนะ โรงงานเขาถึงไม่ผลิตของที่คุณภาพดีกว่านี้ได้? หรือ เมื่อไปใช้บริการจากหน่วยงานราชการก็ถามตัวเองว่า เขาน่าจะจัดงานอย่างนี้ ๆ นะ เราจะได้ ไม่ต้องเสียเวลามากอย่างนี้! หรือ ที่เขาคิดเงินเราแพงขนาดนี้ นี่คงเป็นเพราะเขาใช้คนไม่เต็มที่ จึงสูญเปล่าอย่างน่าเสียดาย! หรือ ถนนมิตรภาพนี้เขาก่อสร้างบริหารงานกันอย่างไรนะยาวตั้งเกือบสองร้อยกิโลเมตร ปีกว่าๆก็เสร็จแล้ว แต่ทำไมถนนหน้าบ้านเรายาวไม่กี่กิโลเมตร เริ่มทำตั้งแต่ขึ้นมัธยมจนตอนนี้ เข้ามหาวิทยาลัยแล้วก็ยังไม่เสร็จซักที
ส่วนความสามารถในการคิดเชิงระบบนั้น มีความจำเป็น เพราะการผลิต และปฏิบัติการมีองค์ประกอบของคน เครื่องมือ อุปกรณ์และวัสดุหลากหลายชนิดทำงานร่วมกัน หรือมีปฏิสัมพันธ์กันเป็นระบบ การเห็นภาพเพียงบางส่วนบางมุม โดยไม่อาจเห็นในภาพรวมได้ ย่อมทำให้การตัดสินใจไม่ได้ผลสูงสุด หรือแก้ปัญหาที่จุดหนึ่งแล้วไปสร้างปัญหาใหม่ที่จุดอื่น เป็นต้นผู้ที่มีความสามารถหรือความถนัดในด้านนี้จะรู้จักมองสิ่งต่างๆรอบๆตัว แล้วสังเกตเห็นลักษณะที่สิ่งของหรืออาการประกอบขึ้นมาจากองค์ประกอบย่อยๆ และความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น ลักษณะการมีลำดับขั้นตอนก่อนหลังหรือคู่ขนานการเป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน (ตลอดจนการร่วมกันเป็นเหตุหรือร่วมกันเป็นผล) การคั่งหรือการกระจุกตัว การแยกหรือกระจายตัว แนวโน้มหรือ pattern การเห็นสิ่งต้องประสงค์ไปพร้อมๆ กับการเห็นหนทางเลือกและข้อจำกัดต่างๆ ตลอดจนการรู้จักคิดหาเกณฑ์ หรือกติกามาใช้ตัดสินใจเลือกของที่เราชอบ แทนที่จะบอกตัวเองแต่เพียงว่า ชอบมากกว่า เท่านั้นเอง
การประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา
บัณฑิตสาขาวิชาบริหารอุตสาหการและปฏิบัติการ สามารถเข้าทำงานได้ทั้งในภาคอุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมบริการ และกิจการทุกประเภท ซึ่งต้องทำการบริหารคุณภาพ การเพิ่มผลผลิต การพัฒนาระบบงาน การประหยัดต้นทุน และการส่งงานอย่างตรงเวลา เช่น ธนาคาร กิจการขนส่งทางเรือ ท่าอากาศยาน ตลาดกลางขายสินค้า ห้างสรรพสินค้า กิจการจัดจำหน่าย กิจการก่อสร้าง และบริษัทที่ปรึกษาโดยเริ่มทำงานในตำแหน่งวางแผน งานควบคุมการผลิตและปฏิบัติการ งานวิเคราะห์ระบบงาน งานบริหารคุณภาพ งานบริหารสินค้าคงคลัง งานจัดซื้อ ฯลฯ เมื่อมีประสบการณ์เพียงพอก็อาจจะได้เลื่อนเป็นผู้จัดการฝ่ายการผลิต ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ ผู้จัดการโรงงาน ผู้จัดการโครงการ กรรมการผู้จัดการ เป็นต้น
“เปิดบ้านธรรมศาสตร์ : พื้นที่แห่งโอกาส จักรวาลสู่การเรียนรู้” 8 และ 9 พฤศจิกายนนี้!! พบกับ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ที่ อาคารเรียนรวมกลุ่มสังคมศาสตร์
4 พฤศจิกายน 2567 คณะพาณิชย์ฯ ม.ธรรมศาสตร์ จัดกิจกรรมสัมมนาบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ เพื่อนำเสนอผลงานของหน่วยงานในปี