เกี่ยวกับเรา ภาควิชาการเงิน
ประวัติภาควิชา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ก่อตั้ง “แผนกวิชาการบัญชี” เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2481 ซึ่งทางคณะฯ ถือเอาวันนี้เป็นวันสถาปนาคณะฯ ปี 2492 ได้ยกฐานะจาก “แผนกวิชาการบัญชี” เป็น “คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี” มีการเพิ่มแผนกพาณิชยศาสตร์ สำหรับหลักสูตรการสอนในแผนการพาณิชยศาสตร์เป็นวิชาเกี่ยวกับการพาณิชย์โดยทั่วๆไป มิได้มีการเน้นหนักในทางหนึ่งทางใด สำหรับแผนกการบัญชียังคงจัดการเรียนการสอนเป็นไปอย่างเดิม คือ แบ่งเป็นประกาศนียบัตรทางการบัญชี 3 ปี และ 5 ปี
ปี 2499 ได้ยกเลิกการศึกษาแบบประกาศนียบัตรและจัดหลักสูตรการศึกษาใหม่เป็นแบบปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี ทั้งแผนการบัญชีและการพาณิชย์ และในปีเดียวกันเองคณะฯได้เปิดสอนระดับปริญญาโทเป็นโครงการภาคกลางวันขึ้น
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
หลักวิชาการทางด้านการเงินมีความสำคัญต่อการประกอบธุรกิจใหญ่น้อยเป็นอย่างมากทั้งในอดีตตราบจนปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่ธุรกิจประสบกับสภาพการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงในเกือบทุกภูมิภาคของโลก ธุรกิจจำเป็นต้องมีหลักวิชาที่รอบคอบ มั่นคง ในการตัดสินใจการลงทุนที่เหมาะสม การตัดสินใจในการจัดหาเงินทุนมาหล่อเลี้ยงธุรกิจให้อยู่รอดและเติบโต การตัดสินใจในการบริหารความเสี่ยงทางการเงินภายใต้สภาพแวดล้อมใหม่ที่เต็มไปด้วยการแข่งขันโดยเสรีเพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือกในสิ่งที่จะเป็นประโยชน์สูงสุด การตัดสินใจทางการเงินในด้านต่างๆ เหล่านี้ได้กลายเป็นตัวแปรสำคัญที่จะตัดสินความอยู่รอดของธุรกิจ ภาควิชาการเงินจึงได้มุ่งเน้นที่จะผลิตบัณฑิตทางการเงินรุ่นใหม่ให้มีความสามารถและทักษะทางแนวคิดและหลักการ (Conceptual Skill) ที่ดี ทักษะทางการวิเคราะห์ (Analytical Skill) ที่รอบคอบและแตกฉาน และทักษะทางการประยุกต์ (Application Skill) ความรู้ในการแก้ปัญหาทางการเงินของธุรกิจได้อย่างเหมาะสมและทันต่อเหตุการณ์ ตลอดจนมุ่งปลูกฝังและหล่อหลอมให้บัณฑิตมีคุณธรรมและจริยธรรม ให้พร้อมที่จะออกสู่สังคมและธุรกิจอย่างมีคุณภาพและคุณธรรม และเสริมสร้างรากฐานของสังคมและธุรกิจให้มั่นคงเติบโตได้ในระยะยาว
คุณสมบัติของนักศึกษาที่เข้าเรียน
นักศึกษาที่จะศึกษาในภาควิชาการเงิน ควรมีความสนใจในพื้นฐานหลัก 3 ด้าน คือ คณิตศาสตร์และสถิติ เศรษฐศาสตร์ และการบัญชี เพื่อที่จะผสมผสานความรู้เหล่านี้มาเป็นเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์และการตัดสินใจทางการเงิน นอกจากนี้ยังควรที่จะมีความสนใจติดตามการเปลี่ยนแปลงและปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศและของโลกอย่างสม่ำเสมอ
การประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา
ภาควิชาการเงิน ได้ให้ความรู้กว้างขวางแก่นักศึกษาเพียงพอที่จะนำไปใช้ประกอบอาชีพ จากลักษณะวิชาที่สอนซึ่งเน้นทางด้านวิเคราะห์ คาดคะเนและตัดสินใจทำให้บัณฑิตมองภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้กว้างและไกล งานในหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจึงท้าทายความสามารถอย่างมาก วิชาความรู้ที่เรียนมาสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในการประกอบธุรกิจส่วนตัวหรือทำงานในสถาบันการเงินต่างๆ ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์ บริษัทประกันภัย สถาบันการเงินเฉพาะด้านต่างๆ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย ตลาดอนุพันธ์ทางการเงิน ตลอดจนธุรกิจการผลิตการค้าและบริการทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ สำหรับงานที่สามารถทำได้ในธุรกิจต่างๆ เหล่านั้นคือ เจ้าหน้าที่การเงิน นักวิเคราะห์และวางแผนทางการเงิน นักวิเคราะห์การลงทุนและโครงการ เจ้าหน้าที่สินเชื่อ นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และบริหารความเสี่ยง ตำแหน่งงานเหล่านี้ยังสามารถพัฒนาให้เป็นผู้บริหารระดับสูง (CFO และ CEO) ได้ทั้งในธุรกิจเอกชน รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานราชการ ตลอดจนองค์กรการกุศลและองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับคณาจารย์ผู้ทรงคุณค่า ที่ได้รับรางวัลในงาน วันเชิดชูเกียรตินักวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2567 ศ.ดร.ศากุน บุญอิต อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารการปฏิบัติการ ได้รับรางวัลในงานวันเชิดชูเกียรตินักวิจัย
28 พฤศจิกายน 2567 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดอบรม “การใช้เทคโนโลยี