Annual Report Academic Year 2020

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คมน์ พันธรักษ์ ผู้อำ �นวยการศูนย์ให้คำ �ปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Sustainability แนวคิดเรื่องความยั่งยืน (Sustainability) เป็นแนวคิดใน “การที่สามารถตอบสนองความต้องการ ของคนในยุคปัจจุบัน ในขณะที่ไม่ท� ำให้ความสามารถในการตอบสนองความต้องการของ คนรุ่นหลังลดน้อยลง” (Bruntland Report, 1987) ซึ่งมุ่งเน้นการด� ำเนินการเพื่อให้สิ่งต่าง ๆ ให้ยังคงสามารถด� ำรงสภาพอยู่ได้ต่อไปถึงอนาคต ภายใต้เงื่อนไขและข้อจ� ำกัดตามวงจร การเปลี่ยนแปลงทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ซึ่งหากจะอธิบายลักษณะส� ำคัญของ การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้สามประเด็นหลัก คือ (1) ให้ความส� ำคัญกับความเท่าเทียม และ ความยุติธรรม (2) มีมุมมองระยะยาวภายใต้หลักความรอบคอบที่คนปัจจุบันคิดถึงคนรุ่นหลัง อย่างน้อยอีก 50 ปี ซึ่งหมายความว่าคนทุกรุ่นจะได้รับการดูแล (3) คิดแบบเป็นระบบ เข้าใจใน ความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ในปัจจุบันความยั่งยืน เป็นกระแสหลักของสังคม ที่น� ำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ท� ำให้เกิดการมุ่งพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน โดยผ่านการจัดท� ำดัชนีความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็น ดัชนี Dow Jones Sustainability Indices (DJSI), FTSE4Good Index, MSCI ESG Index ในต่างประเทศ เป็นต้น หรือในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้มีการจัดตั้งเกณฑ์และรายชื่อ หุ้นยั่งยืน หรือ (Thailand Sustainability Investment: THSI) และดัชนี SETTHSI โดย บริษัทจ� ำกัดที่ได้รับคะแนนผ่านการประเมินทั้ง 3 มิติ ได้แก่ ความรับผิดชอบ 3 ด้านหลัก คือ สิ่งแวดล้อม สังคม และการก� ำกับดูแล (ESG) ในด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) เป็นหลักเกณฑ์ ที่ค� ำนึงถึงในด้ านความรับผิดชอบของบริษัทต่ อสิ่งแวดล้ อม ในด้ านสังคม (Social ) เป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้วัดว่าบริษัทมีการจัดการความสัมพันธ์และมีการสื่อสาร กับ ลูกจ้าง คู่ค้า (Suppliers) ลูกค้า หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) อย่างไร และด้านการก� ำกับดูแล (Governance) หมายถึงหลักการในการประเมินว่าบริษัทมีการจัดการบริหารความสัมพันธ์ ในเชิงการก� ำกับดูแลอย่างไร ในการจัดการที่มีประสิทธิภาพโปร่งใส ตรวจสอบได้ และค� ำนึงถึง ผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งนี้แนวคิดความยั่งยืนด้วยมิติ ESG ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ธุรกิจ ด้วยการสะท้อน บทบาทความรับผิดชอบของธุรกิจที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดจนการน� ำเสนอผลการด� ำเนินงาน ให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยในปี 2563 มีบริษัทจดทะเบียนจ� ำนวน 124 แห่ง ที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม หุ้นยั่งยืน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2562 มากถึง 51 บริษัท การเพิ่มขึ้นของจ� ำนวนบริษัทที่อยู่ในกลุ่ม หุ้นยั่งยืน ย่อมแสดงให้เห็นว่าภาคธุรกิจมีความสนใจมากขึ้นในเรื่องการด� ำเนินธุรกิจตามแนวคิด เรื่องความยั่งยืน 20 PAGE ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ � ปี ก า ร ศึ ก ษ า 2 5 6 3

RkJQdWJsaXNoZXIy ODEyMzQ3