Annual Report Academic Year 2020

ภาคการศึกษานั้นได้รับโจทย์ส� ำคัญ ในฐานะที่เป็นแกนหลักในการพัฒนาศักยภาพของคนรุ่นใหม่เพื่อให้มีทักษะที่จ� ำเป็นต่าง ๆ รวมไปถึง พัฒนาองค์ความรู้เดิมให้มีความผสมผสานกับเทคโนโลยีดังที่กล่าวมาในตอนต้น จะเห็นได้ว่าวิชาในสายวิทยาการข้อมูล (Data science) นั้นได้รับความนิยม และถูกน� ำไปผนวกเข้ากับสาขาวิชาเดิมกันอย่างแพร่หลาย ทักษะด้านการเขียนโปรแกรม (Coding) ซึ่งเป็นพื้นฐานส� ำคัญ ก็ได้รับความสนใจ มีการให้คนรุ่นใหม่เริ่มสัมผัสและศึกษากันตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ในส่วนของรูปแบบการเรียน สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นั้น เป็นสิ่งที่ผลักดันให้ภาคการศึกษามีความ Digitalization อย่างก้าวกระโดด ด้วยพื้นฐานโครงข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีให้บริการมีความเร็วเพียงพอ และแพลตฟอร์มที่ให้บริการเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่ภาคการศึกษามีความจ� ำเป็น ต้องใช้นั้น มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ณ วันนี้ เรามีแพลตฟอร์มที่ช่วยในการจัดการห้องเรียน การประชุมออนไลน์ ระบบการจัดสอบ ฯลฯ ในเมื่อเรามีการใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าว ในขณะที่ภัยโรคระบาดผ่านพ้นไป สิ่งที่ยังต้องคอยดูต่อไปก็คงเป็นเพียงว่า ภาคการศึกษา จะเดินต่อไปข้างหน้ากับเทคโนโลยีที่เราเรียนรู้ ทักษะที่เราฝึกฝน และประสบการณ์จากการถูกบังคับให้เชื่อมต่อกับโลกภายนอกในบริบทของ กิจกรรมด้านการศึกษาผ่านเทคโนโลยีต่าง ๆ ดังนั้นโลกอนาคตที่ก� ำลังจะเกิดขึ้นจึึงมีโอกาสที่ปรัชญาและการเรียนรู้ท� ำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ ในชั้นเรียนนั้น จะถูกแทนที่ด้วยการเชื่อมต่อผ่านเทคโนโลยีแทน Digitalization ในภาคการศึกษา Digitalization ในธุรกิจ ภาคธุรกิจจัดเป็นผู้บุกเบิกในเรื่อง Digitalization อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นในฐานะผู้สร้างนวัตกรรม (Innovators) หรือผู้ที่น� ำเทคโนโลยี มาสร้างเป็นสินค้าหรือบริการ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าของแต่ละภาคธุรกิจ หากมองเรื่อง Digitalization ในธุรกิจอาจจะต้องมีการวัดระดับ ความดิจิทัลกันก่อน ซึ่งอาจจะเริ่มต้นจากตัวสินค้าหรือบริการของแต่ละธุรกิจว่าสามารถส่งไปถึงลูกค้าได้ โดยใช้ช่องทางดิจิทัลเป็นหลักได้หรือไม่ ถ้าท� ำไม่ได้แล้วสามารถที่จะสร้างกลไกอะไรได้บ้างเพื่อที่จะส่งสินค้าหรือบริการเหล่านั้นไปให้ถึงมือลูกค้า ธุรกิจที่พอจะเป็นกรณีศึกษาที่ดี ในการเปรียบเทียบถึงระดับความดิจิทัล เช่น ธุรกิจโรงภาพยนตร์ และธุรกิจออนไลน์สตรีมมิ่ง ในยุคเริ่มแรกธุรกิจโรงภาพยนตร์ก็มีวิวัฒนาการ ในด้าน Digitalization อยู่ก่อนแล้วไม่ว่าจะเป็นการจองรอบเข้าชมผ่านช่องทางออนไลน์ เพียงแต่ว่าในขั้นตอนท้ายสุดนั้นลูกค้าจะต้องเข้ามาใช้ บริการในโรงภาพยนตร์ ในขณะที่บริการออนไลน์สตรีมมิ่งนั้น ไม่มีส่วนไหนเลยที่ลูกค้าจ� ำเป็นจะต้องพึ่งพาบริการทางกายภาพจากผู้ให้บริการ นอกเหนือจากตัวสินค้าหรือบริการแล้ว ทรัพยากรบุคคลในภาคธุรกิจนั้นก็เป็นปัจจัยส� ำคัญที่ถึงขั้นเป็นตัวชี้ขาดว่าธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งนั้น จะได้ไปต่อหรือไม่ สืบเนื่องมาจากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ที่มีกระแสในเรื่องของการท� ำเอาต์ซอร์ส (Outsourcing) เพื่อลดต้นทุนในการบริหาร งานทรัพยากรบุคคล ท� ำให้หลาย ๆ องค์กรธุรกิจนั้นมีเพียงบุคลากรที่เชี่ยวชาญในทักษะที่ตัวธุรกิจเหล่านั้นให้ความส� ำคัญเป็นเป้าหมายหลัก เมื่อถึงคราวที่ต้องเสริมศักยภาพทางด้านดิจิทัลให้กับตัวธุรกิจ เพื่อน� ำไปสู่การพัฒนาสินค้าหรือบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้า ตัวบุคลากรที่มีอยู่ ก็ไม่เพียงพอ จะรอจ้างธุรกิจเอาต์ซอร์สก็ไม่สามารถด� ำเนินการได้อย่างคล่องตัว ไม่ว่าจะเป็นข้อจ� ำกัดในเรื่องของความลับทางการค้า หรือทักษะ ที่ผู้รับจ้างมีก็อาจจะไม่ตรงกับโจทย์ของธุรกิจ ณ เวลานั้น หลายองค์กรธุรกิจจึงได้มีการปรับแผนบุคลากร มีการให้ความส� ำคัญกับการจ้างงานบุคลากรที่มีความช� ำนาญทางด้านเทคโนโลยี มีโครงการ พัฒนาบุคลากรเดิมให้เพิ่มพูนความรู้ด้านดิจิทัล ซึ่งเปรียบได้กับความพยายามที่จะปลูกถ่ายดีเอ็นเอขององค์กรธุรกิจให้ข้ามสายพันธุ์จาก แบบธุรกิจเดิม ไปสู่ธุรกิจใหม่ผ่าน Digitalization และ Lifelong Learning ในยุคโลกาภิวัตน์ที่แทบจะทุกสิ่งอย่างในโลกนี้มีความเชื่อมโยงถึงกันผ่านเทคโนโลยี การมีเทคโนโลยีใดเทคโนโลยีหนึ่ง ซึ่งมีผู้ใช้งานมาก เมื่อเทียบกับสัดส่วนของประชากรโลก อยู่ในความครอบครองขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง หรือประเทศใดประเทศหนึ่งนั้น ย่อมท� ำให้เกิดความหวาดกลัว กลไกต่าง ๆ ก็ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการที่จะก� ำกับดูแล ไม่ให้เทคโนโลยีหรือองค์กรธุรกิจเจ้าของเทคโนโลยีเหล่านั้น มีอิทธิพลมากเกินไป อีกทั้งยังเพิ่มความอุ่นใจให้กับพลเมืองโลกว่าข้อมูลความเป็นส่วนตัวของพลเมืองแต่ละคนนั้นจะได้รับการปกป้องดูแล หากมองอีกนัยหนึ่ง ก็อาจจะเป็นการคานอ� ำนาจกันระหว่างเจ้าของนวัตกรรมและผู้บริโภค กลไกเหล่านี้ เช่น การปกป้องคุ้มครองความเป็นส่วนตัว ถูกน� ำไปสร้างเป็นเครื่องมือในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกฎหมาย ข้อตกลง ทางการค้า ฯลฯ ซึ่งแน่นอน ในโลกนี้ไม่ได้มีเพียงสองบทบาทที่กล่าวในข้างต้น ซึ่งปรากฏการณ์หาจุดดุลยภาพระหว่างเจ้าของนวัตกรรมและ การปกป้องผู้บริโภคนั้น กลายเป็นแรงกระเพื่อมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งตัวอย่าง ที่เห็นได้ชัดในประเทศไทย คือ พฤติกรรมการใช้แพลตฟอร์มต่าง ๆ ซึ่งแพลตฟอร์มเหล่านั้นได้มีการปรับแต่งบริการปฏิบัติตามกฎหมาย หรือข้อตกลงทางการค้าที่แพลตฟอร์มเหล่านั้นตั้งอยู่ หรือมีลูกค้าในประเทศที่มีการบังคับใช้กฎหมายนั้น ๆ จะเห็นได้ว่า Digitalization นั้นเชื่อมโยงกับชีวิตเราในทุกมิติ ตั้งแต่ของใช้ประจ� ำวัน ไปถึงความเชื่อมโยงของผู้คน ภาคธุรกิจและทุกสิ่งในยุค โลกาภิวัตน์นี้ ในบริบทของ Digitalization หากมองผิวเผินจะเป็นเพียงการประดิษฐ์ น� ำไปใช้ แบ่งกันใช้ หรือแม้กระทั่งสร้างกติกาการใช้ร่วมกัน แต่ไม่ควรลืมสิ่งที่ส� ำคัญกว่า ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสังคมที่ดี ธุรกิจที่ดูแลสิ่งแวดล้อม และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ครอบครัวที่มีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น Digitalization กับยุคโลกาภิวัตน์ PAGE 19 A N N U A L R E P O R T A C A D E M I C Y E A R 2 0 2 0

RkJQdWJsaXNoZXIy ODEyMzQ3