Annual Report Academic Year 2020

ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว และการปรับตัวของภาคธุรกิจให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น สถาบันการศึกษาด้านบริหารธุรกิจจึงต้องเป็นผู้น� ำทางความคิด ที่รู้เท่าทันต่อกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจได้ด้วยวิสัยทัศน์ ที่ผ่านกระบวนการขัดเกลาจากการท� ำงานวิจัยและการให้ค� ำปรึกษาทาง วิชาการอย่างใกล้ชิดกับภาคธุรกิจ ดังนั้นการพัฒนาและปรับปรุง หลักสูตรในแต่ละครั้งจึงไม่ เพียงแค่ ใช้การส� ำรวจความต้องการ ของตลาดแรงงานในปัจจุบันผ่านการท� ำ survey และ focus group กับผู้ว่าจ้างในภาคธุรกิจเท่านั้น แต่สถาบันการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ ยังต้องสามารถคาดการณ์ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของภาคธุรกิจ ในอนาคตที่ได้รับอิทธิพลจากเทคโนโลยีดิจิทัลได้ด้วย เพื่อให้หลักสูตร ที่ถูกออกแบบมาไม่ใช่แค่เพียงทันสมัยต่อสภาวการณ์ปัจจุบันเท่านั้น แต่ต้องก้าวล�้ ำเพียงพอที่จะสามารถรองรับการท� ำงานจริงเมื่อผู้เรียน จบการศึกษาไปแล้ว โดยยังสามารถน� ำความรู้หรือทฤษฎีที่เรียนไปใช้ ในการท� ำงานได้อยู่ ไม่ใช่กว่าผู้เรียนจะจบการศึกษา ความรู้ที่ได้ศึกษามา ก็ล้าสมัยไปเสียแล้ว จะเห็นได้ว่าการศึกษาด้านบริหารธุรกิจสมัยใหม่ต้องอาศัยการปรับตัว ในทุกด้านทั้งบทบาทของผู้เรียน ผู้สอน และโครงสร้างหลักสูตร โดยเป็น การศึกษาแบบ “น้ อยแต่มาก” โดยลดชั่วโมงการเรียน ในชั้นเรียนให้น้อยลง แต่เพิ่มความเข้มข้นในการพัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่จ� ำเป็นต่อการด� ำเนินธุรกิจให้มากขึ้น เพราะปัจจุบันทุกคนมีต้นทุน ทางความรู้ที่เท่าเทียมกันตามข้อมูลที่มีอยู่มากมายในโลกของอินเทอร์เน็ต แต่ทักษะต้องอาศัยเวลาในการพัฒนาและต้องมีผู้ชี้แนะที่มีประสบการณ์ และรู้จริงเท่านั้นจึงจะประสบความส� ำเร็จได้ ด้วยบริบทของการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยที่ได้กล่าวมา ข้างต้นท� ำให้การปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนให้สามารถ ตอบสนองความต้ องการของตลาดแรงงานที่แท้ จริงจึงเป็นสิ่ง ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการศึกษาด้านบริหารธุรกิจยุคใหม่ โดยการออกแบบ โครงสร้างหลักสูตรต้องเน้นให้มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวเพื่อเอื้อ ให้สามารถท� ำการปรับปรุงหลักสูตรได้รวดเร็วและบ่อยครั้งมากขึ้น เพื่อให้หลักสูตรคงความทันสมัยและทันตามกระแสการเปลี่ยนแปลง ของเทคโนโลยี เศรษฐกิจและสังคมอยู่เสมอ ทั้งนี้ หลักสูตรจะมี ความยืดหยุ่นและคล่องตัวต่อการปรับปรุงได้ก็ต่อเมื่อมีจ� ำนวนวิชา และจ� ำนวนหน่วยกิตไม่มากจนเกินไป การลดจ� ำนวนวิชาในหลักสูตรสามารถท� ำได้โดยการลดจ� ำนวน วิชาที่เน้นการจดจ� ำเนื้อหา ทฤษฎี หรือวิธีการค� ำนวณที่ผู้ เรียน สามารถศึกษาได้ด้วยตนเองนอกชั้นเรียน ร่วมกับการจัดกลุ่มวิชา แบบมีจุดมุ่งหมาย (Purpose) ตามที่หลักสูตรนั้นต้องการสร้างจุดแข็ง ให้แก่ผู้เรียน โดยเน้นการสร้างความเข้าใจในหลักการ ตลอดจน สถานการณ์และบริบทที่เหมาะสมต่อการน� ำความรู้และแนวคิด ทางธุรกิจมาใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจได้จริง หรือการลดจ� ำนวน หน่วยกิตต่อวิชาลงที่สามารถท� ำได้โดยการลดจ� ำนวนชั่วโมงเรียน ในชั้นเรียนลงให้เหลือแต่เฉพาะส่วนที่ผู้สอนท� ำหน้าที่เป็น Facilitator เพื่อการพัฒนาทักษะและการต่อยอดองค์ความรู้ด้วยการท� ำกิจกรรม และการอภิปรายในชั้นเรียน หรือการแบ่งหน่วยกิตเป็น Online ผสม Onsite โดยที่ Online 1.5 หน่วยกิต จะเป็นส่วนที่ผู้สอน จัดท� ำเป็นคลิปวิดีโอที่เป็นภาคการบรรยายเนื้อหาแบบ Lecture ที่ให้ผู้เรียนไปศึกษานอกเวลาผ่านแอปพลิเคชัน และ Onsite อีก 1.5 หน่วยกิต ซึ่งเป็นส่วนที่ผู้สอนจะท� ำหน้าที่เป็น Facilitator ซึ่ง แนวทางดังกล่าวนอกจากจะท� ำให้โครงสร้างหลักสูตรมีความกระชับ และเกิดความคล่องตัวต่อการจัดการหลักสูตรมากขึ้นแล้ว ยังเป็น การลดความสิ้นเปลืองทั้งด้านเวลาและทรัพยากรที่ต้องใช้ในชั้นเรียน ทั้งส่วนของผู้เรียนและผู้สอนอีกด้วย ไม่ใช่แค่ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน แต่ต้องล้ำ �หน้ากว่า โครงสร้างหลักสูตร ที่มีความยืดหยุ่น PAGE 29 A N N U A L R E P O R T A C A D E M I C Y E A R 2 0 2 0

RkJQdWJsaXNoZXIy ODEyMzQ3