ความสำ �คัญของตลาด “เสรี” เพื่อพัฒนาภาคธุรกิจเอกชนไทยให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น สิ่งส� ำคัญคือ ตลาดในประเทศต้องมีความเป็น “เสรี” ซึ่งหมายความว่าหน่วยงานภาครัฐของไทย จะต้องมีการสร้างความมั่นใจและมีการสร้างหลักประกันในสี่เสาหลักที่ส� ำคัญเพื่อ ให้เกิดตลาดเสรีและการแข่งขันอย่างเป็นธรรม โดยเสาหลักสี่ประการนี้ประกอบด้วย (1) การแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม (2) ระบบยุติธรรมที่เป็นกลาง (3) ราคาที่ สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง และ (4) เสรีภาพทางโอกาส ซึ่งสิ่งเหล่านี้ สามารถเกิดขึ้น ได้ด้วยระบบการเมืองที่เหมาะสมเท่านั้น คือ ระบอบประชาธิปไตย หากไม่มี ประชาธิปไตย เสาหลักส� ำคัญสี่ประการเหล่านี้ก็อาจอยู่ภายใต้อิทธิพลและ ถูกครอบง� ำจากภายนอกได้ เสาหลักที่ 1 การแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม สืบเนื่องจากความจ� ำเป็นที่จะต้องมีมาตรการป้องกันการแข่งขัน โดยในช่วง หลายปีที่ผ่านมาพบว่า ประเทศไทยเองก็มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ดังจะเห็น ได้จากที่มีการจัดตั้งคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (Trade Competition Commission; TCC) ขึ้นมา เพื่อเป็นกลไกหลักในการก� ำกับดูแลและบังคับใช้ กฎหมายเกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้าของไทย อย่างไรก็ตาม กลับพบว่ายังมี การตัดสินใจของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า บ่อยครั้งที่ส่งผลให้สาธารณชน เกิดความสงสัยว่าคณะกรรมการนี้สามารถด� ำเนินการได้จริงหรือไม่ ซึ่งประเด็น ข้อสงสัยดังกล่าวอาจเป็นปัญหาในส่วนของการตีความหรือการด� ำเนินการ ตามที่กฎหมายก� ำหนดไว้ แต่ในกรณีที่หากไม่มีกฎระเบียบเพื่อป้องกันการแข่งขัน การพัฒนาด้านนวัตกรรมก็จะไม่มีความก้าวหน้า ส่งผลให้ประสิทธิภาพลดลงและ ราคาสินค้าก็จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ธุรกิจที่ด� ำเนินการอยู่ในตลาดก็ควรที่จะต้องได้รับการปกป้องจาก การสมรู้ร่วมคิดและควรที่จะต้องมีการประเมินบทบาทของรัฐวิสาหกิจอีกครั้ง เนื่องจากรัฐวิสาหกิจอาจบิดเบือนตลาดเสรีและเป็นธรรมจากการได้รับเอกสิทธิ์ ในการผูกขาด การมีตลาดเสรีและยุติธรรมจะส่งผลให้เกิดการเติบโตทางการแข่งขัน และจะสนับสนุนให้บริษัทต่าง ๆ ต้องคิดค้นและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อ ให้สามารถแข่งขันได้ ซึ่งบริษัทที่ไม่สามารถพัฒนาและแข่งขันได้ก็จะต้องออกไป จากตลาดและไม่ควรด� ำเนินกิจการต่อไปเนื่องจากจะกลายเป็นภาระให้แก่สังคม โดยรวม ดังนั้น บทบาทที่ส� ำคัญของรัฐบาลไทยคือการท� ำให้แน่ใจว่ามีการแข่งขัน กันอย่างแท้จริง เมื่อมีกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ของไทยเข้ามาเกี่ยวข้อง และไม่มี ความล� ำเอียงในการสนับสนุนรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในตลาด เนื่องจากขนาดธุรกิจของธุรกิจ เหล่านั้นมีความได้เปรียบในการแข่งขันกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอยู่แล้ว PAGE 23 A N N U A L R E P O R T A C A D E M I C Y E A R 2 0 2 0
RkJQdWJsaXNoZXIy ODEyMzQ3