คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ Thammasat Business School เป็น Thailand‘s First Triple Crown Business School หรือ มหาวิทยาลัยด้านบริหารธุรกิจแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองคุณภาพการศึกษาระดับนานาชาติจากสถาบันรับรองคุณภาพการศึกษาด้านบริหารธุรกิจระดับโลก 3 แห่ง ได้แก่ AACSB (Association to Advance Collegiate Schools of Business) จากสหรัฐอเมริกา EQUIS (EFMD Quality Improvement System) จากสหภาพยุโรป และ AMBA (Association of MBAs) จากสหราชอาณาจักร โดยจาก Business Schools ประมาณ 10,000 แห่งทั่วโลก มีไม่ถึง 100 แห่ง หรือคิดเป็นไม่ถึง 1% เท่านั้น ที่ได้รับ Triple Crown Accreditation
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดรับผู้ที่มีความสนใจทางธุรกิจและมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำทางธุรกิจเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี หลักสูตรภาษาไทย ทุกหลักสูตร ทั้งท่าพระจันทร์และรังสิต ในการรับเข้า TCAS1 รอบ Portfolio สำหรับปีการศึกษา 2568 นอกเหนือจากการรับเข้า TCAS3 รอบ Admission ตามปกติ
รศ.ดร.สมชาย สุภัทรกุล คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยว่า “ด้วยวิสัยทัศน์ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการบ่มเพาะผู้นำแห่งอนาคตที่จะกำหนดทิศทางของธุรกิจของภูมิภาคอาเซียนอย่างยั่งยืน คณะฯ จึงปรับกลยุทธ์การรับเข้าเพื่อเฟ้นหาผู้ที่มีศักยภาพและความมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำทางธุรกิจ เพื่อเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี หลักสูตรภาษาไทย ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตร 4 ปี ที่ศึกษาที่ศูนย์รังสิต และหลักสูตร 5 ปี ตรีควบโทฯ ที่ศึกษาที่ท่าพระจันทร์ ผ่านการรับเข้า TCAS1 รอบ Portfolio ปีการศึกษา 2568 ทั้งนี้ คณะฯ ก็ยังคงมีการรับเข้า TCAS3 Admission ตามปกติด้วย”
การรับเข้า TCAS1 รอบ Portfolio จะคัดกรองผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์โดยใช้คะแนนการประเมินสมรรถนะด้านการจัดการสมัยใหม่ หรือการสอบ FORWARD ซึ่งพัฒนาโดยศูนย์ทดสอบสมรรถนะแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat Competency Test Center หรือ TCTC) และยังมีทางเลือกการคัดกรองผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์โดยใช้คะแนน SAT ดำเนินการโดย The College Board ด้วย เพื่อตอกย้ำความเป็นนานาชาติของคณะฯ นอกจากนี้ การสอบสัมภาษณ์จะมีความเข้มข้น โดยการเปิดโอกาสให้ผู้สมัครได้นำเสนอ Portfolio เพื่อแสดงถึงความสนใจทางธุรกิจและความมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำทางธุรกิจในอนาคตอย่างเป็นรูปธรรม
ผศ.ดร.จินตนัย ไพรสณฑ์ ผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบสมรรถนะแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TCTC) เปิดเผยว่า “การสอบ FORWARD เป็นการประเมินสมรรถนะด้านการจัดการสมัยใหม่ โดยครอบคลุมสมรรถนะหลัก 3 ด้าน ได้แก่ สมรรถนะด้านการวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจ (Business Quantitative Analysis Competency) สมรรถนะด้านการวิเคราะห์เชิงคุณภาพทางธุรกิจ (Business Qualitative Analysis Competency) และสมรรถนะด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษทางธุรกิจ (Business English Communication Competency) ซึ่งแบบประเมินในแต่ละด้านจะมีจำนวน 30 ข้อ รวม 90 ข้อ และใช้เวลาด้านละ 40 นาที รวม 120 นาที”
คุณสมบัติของผู้สมัคร TCAS1 รอบ Portfolio ต้องเป็นผู้ที่กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า และมีเกรดเฉลี่ยสะสม (GPAX) ไม่น้อยกว่า 2.75 (ในกรณีของผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ต้องมีเกรดเฉลี่ยสะสม 4 ภาคการศึกษาไม่น้อยกว่า 2.75)
ผศ.ดร.อรพรรณ ยลระบิล รองคณบดีฝ่ายวิชาการและเครือข่ายพันธมิตร คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า “คณะฯ จะพิจารณาคัดเลือกผู้ที่มีสิทธิเข้าสอบสัมภาษณ์โดยพิจารณาจากคะแนน FORWARD โดยจะพิจารณาสมรรถนะหลักทั้ง 3 ด้าน โดยกำหนดน้ำหนัก ดังนี้ (1) สมรรถนะด้านการวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจ ค่าน้ำหนักร้อยละ 40 (2) สมรรถนะด้านการวิเคราะห์เชิงคุณภาพทางธุรกิจ ค่าน้ำหนักร้อยละ 30 และ (3) สมรรถนะด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษทางธุรกิจ ค่าน้ำหนักร้อยละ 30 หรือคะแนน SAT ทั้ง 2 ด้าน โดยกำหนดน้ำหนัก ดังนี้ (1) SAT Math ค่าน้ำหนักร้อยละ 60 และ (2) SAT Reading and Writing ค่าน้ำหนักร้อยละ 40 สำหรับการสอบสัมภาษณ์ที่เข้มข้นจะมุ่งเน้นการประเมินความสนใจทางธุรกิจและความมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำทางธุรกิจของผู้สมัคร โดยเปิดโอกาสให้ผู้สมัครนำเสนอ Portfolio ต่อกรรมการสอบสัมภาษณ์ และผู้สมัครที่มีผลการสอบสัมภาษณ์ “ไม่ผ่าน” จะไม่ได้รับสิทธืในการเข้าศึกษา และคณะฯ จะพิจารณาผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาโดยจัดลำดับด้วยคะแนน FORWARD หรือคะแนน SAT เฉพาะผู้ที่มีผลการสอบสัมภาษณ์ “ผ่าน” เท่านั้น ทั้งนี้ คณะฯ เชื่อมั่นว่าการคัดเลือกในรอบ Portfolio นี้จะได้นักศึกษาที่มีความพร้อมที่จะได้รับการบ่มเพาะให้กลายเป็นผู้นำแห่งอนาคตที่จะขับเคลื่อนธุรกิจของไทยและอาเซียนได้อย่างยั่งยืน”
ผศ.ดร.อรพรรณ ยลระบิล รองคณบดีฝ่ายวิชาการและเครือข่ายพันธมิตร กล่าวเสริมว่า “ผู้สมัครสามารถสมัครในหลักสูตรของคณะฯ ได้มากกว่า 1 หลักสูตร กรณีที่ผู้สมัครมีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์มากกว่า 1 หลักสูตร ผู้สมัครจะเข้าสอบสัมภาษณ์เพียงครั้งเดียวเท่านั้น โดยในวันสอบสัมภาษณ์ ผู้สมัครจะต้องระบุลำดับหลักสูตรตามความสนใจเข้าศึกษา และคณะฯ จะประกาศให้สิทธิ์ในการเข้าศึกษาเพียง 1 หลักสูตรเท่านั้น โดยคำนึงถึงลำดับหลักสูตรที่ผู้สมัครระบุไว้”
ผศ.ดร.อรพรรณ ยลระบิล รองคณบดีฝ่ายวิชาการและเครือข่ายพันธมิตร คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า “คณะฯ จะพิจารณาคัดเลือกผู้ที่มีสิทธิเข้าสอบสัมภาษณ์โดยพิจารณาจากคะแนน FORWARD โดยจะพิจารณาสมรรถนะหลักทั้ง 3 ด้าน โดยกำหนดน้ำหนัก ดังนี้ (1) สมรรถนะด้านการวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจ ค่าน้ำหนักร้อยละ 40 (2) สมรรถนะด้านการวิเคราะห์เชิงคุณภาพทางธุรกิจ ค่าน้ำหนักร้อยละ 30 และ (3) สมรรถนะด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษทางธุรกิจ ค่าน้ำหนักร้อยละ 30 หรือคะแนน SAT ทั้ง 2 ด้าน โดยกำหนดน้ำหนัก ดังนี้ (1) SAT Math ค่าน้ำหนักร้อยละ 60 และ (2) SAT Reading and Writing ค่าน้ำหนักร้อยละ 40 สำหรับการสอบสัมภาษณ์ที่เข้มข้นจะมุ่งเน้นการประเมินความสนใจทางธุรกิจและความมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำทางธุรกิจของผู้สมัคร โดยเปิดโอกาสให้ผู้สมัครนำเสนอ Portfolio ต่อกรรมการสอบสัมภาษณ์ และผู้สมัครที่มีผลการสอบสัมภาษณ์ “ไม่ผ่าน” จะไม่ได้รับสิทธืในการเข้าศึกษา และคณะฯ จะพิจารณาผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาโดยจัดลำดับด้วยคะแนน FORWARD หรือคะแนน SAT เฉพาะผู้ที่มีผลการสอบสัมภาษณ์ “ผ่าน” เท่านั้น ทั้งนี้ คณะฯ เชื่อมั่นว่าการคัดเลือกในรอบ Portfolio นี้จะได้นักศึกษาที่มีความพร้อมที่จะได้รับการบ่มเพาะให้กลายเป็นผู้นำแห่งอนาคตที่จะขับเคลื่อนธุรกิจของไทยและอาเซียนได้อย่างยั่งยืน”
ผศ.ดร.อรพรรณ ยลระบิล รองคณบดีฝ่ายวิชาการและเครือข่ายพันธมิตร กล่าวเสริมว่า “ผู้สมัครสามารถสมัครในหลักสูตรของคณะฯ ได้มากกว่า 1 หลักสูตร กรณีที่ผู้สมัครมีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์มากกว่า 1 หลักสูตร ผู้สมัครจะเข้าสอบสัมภาษณ์เพียงครั้งเดียวเท่านั้น โดยในวันสอบสัมภาษณ์ ผู้สมัครจะต้องระบุลำดับหลักสูตรตามความสนใจเข้าศึกษา และคณะฯ จะประกาศให้สิทธิ์ในการเข้าศึกษาเพียง 1 หลักสูตรเท่านั้น โดยคำนึงถึงลำดับหลักสูตรที่ผู้สมัครระบุไว้”
กำหนดการสอบ FORWARD ในปี 2567 จะจัดสอบ 2 ครั้ง โดยครั้งแรกเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 1-15 ตุลาคม 2567 และสอบในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567 ส่วนครั้งที่สองเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม – 10 พฤศจิกายน 2567 และสอบในวันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน 2567 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดการสมัครสอบและแนวตัวอย่างข้อสอบได้ที่ https://forward.tbs.tu.ac.th/ หรือ www.facebook.com/Admissions.TBS หรือ www.facebook.com/ThammasatCompetencyTestCenter
สำหรับคะแนน SAT คณะฯ พิจารณาคะแนน SAT ถึงรอบสอบเดือนพฤศจิกายน 2567 (การสอบวันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2567) เท่านั้น ผู้สมัครต้องส่งคะแนน SAT จาก The College Board มายัง Code 0288 ก่อนวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 และคะแนน SAT ต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปีนับจนถึงวันสมัคร ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดการสมัครสอบได้ที่ https://www.collegeboard.org/
คณะฯ กำหนดจัดงาน Openhouse เพื่อแนะนำหลักสูตรปริญญาตรีและการรับเข้าของคณะฯ ในวันอังคารที่ 8 ตุลาคม 2567 เวลา 13.30-15.30 น. ณ ห้อง 413 อาคาร SC-3 ท่านที่สนใจเข้าร่วมงาน ติดตามข่าวสารได้ที่ www.facebook.com/Admissions.TBS
กำหนดการรับสมัคร TCAS1 รอบ Portfolio
วันที่ | รายละเอียด |
5 – 26 พฤศจิกายน 2567 | สมัครผ่านระบบออนไลน์ที่ www.tuadmissions.in.th |
5 – 27 พฤศจิกายน 2567 | ชำระเงินค่าสมัคร ผ่านระบบ Smart Bill Payment |
9-11 ธันวาคม 2567 | ตรวจสอบความถูกต้องของคะแนน FORWARD ที่คณะฯ ได้รับจาก TCTC หรือคะแนน SAT ที่ผู้สมัครขอให้ The College Board ส่งมาที่ Code 0288 ได้ที่ https://tcas1.tbs.tu.ac.th |
21 มกราคม 2568 | ประกาศรายชื่อผู้สิทธิ์สอบสัมภาษณ์ |
26 มกราคม 2568 | สอบสัมภาษณ์ ณ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มธ. ศูนย์รังสิต |
5 กุมภาพันธ์ 2568 | ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก ที่เว็บไซต์ www.tuadmissions.in.th |
5-6 กุมภาพันธ์ 2568 | ยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาผ่านระบบกลาง ทปอ. ที่ student.mytcas.com |
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โทร.02-696-5730 หรือ 095-709-8747 หรือ www.facebook.com/Admissions.TBS
Date: 30 กันยายน 2567